เข้าชม : 26 |

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
 
ผลการดำเนินงาน
จำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน
การดำเนินงานในแต่ละระดับ
1.มีระบบ มีกลไก
     ระบบในการบริหารและจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้พอเพียง และเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน เนื่องจาก รร.นรต. มีหลักสูตรคือ รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ เป็นหลักสูตรหลักเพียง 1 หลักสูตร ดังนั้นการทำงานของทุกหน่วยใน รร.นรต. จึงมุ่งเน้นเพื่อตอบสนองต่อหลักสูตร รป.บ. (สาขาวิชาการตำรวจ) เท่านั้น จึงทำให้ระบบการบริหารจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้มีความแตกต่างจากมหาวิทยาลัยโดยทั่วไป กล่าวคือ เกิดจากการแบ่งความรับผิดชอบตามโครงสร้างอำนาจหน้าที่ของหน่วยราชการในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ซึ่งกำหนดให้แต่ละหน่วย มีหน้าที่จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยอาจารย์ผู้สอนจะทำรายงานเพื่อขอรับการสนับสนุนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารโรงเรียนนายร้อยตำรวจพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการต่อไป (ตามแผนผังองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร รร.นรต.ด้านล่าง)
  คณะกรรมการบริหารโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นประธาน เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดในการบริหารหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  มีหน้าที่ในการกำกับดูแล รับฟังคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วนำเข้าที่ประชุมบริหาร รร.นรต.ให้ความเห็นชอบและอนุมัติจัดสรรงบประมาณประจำปี ตามคำแนะนำและตามความเหมาะสม
  
       กลไกในการบริหารจัดการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งสนับสนุนในการเรียนรู้ ของโรงเรียนนายร้อย-
  ตำรวจ ในรอบปีการศึกษา 2561 ได้ดำเนินการดังนี้
 
    มีการสำรวจ ความเพียงพอของอาจารย์ประจำคณะ, ครูฝึกจากศูนย์ฝึกตำรวจ, ครูฝึกจากกองบังคับการปกครองและอาจารย์ประจำหลักสูตร ประชุมเพื่อตรวจสอบความเพียงพอและเหมาะสมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และวางแผนในการปรับปรุงตามผลสำรวจ ความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยตำรวจและอาจารย์ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในปีการศึกษา 2561 เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคการศึกษา 2562 และระหว่างปีการศึกษาฯ เมื่อเกิดปัญหาหรือความต้องการสิ่งสนับสนุนในการเรียนรู้เพิ่มเติมของนักเรียนนายร้อยตำรวจ ก็จะมีการนำเรื่องเสนอในที่ประชุมบริหาร 
   มีการวางแผน โดยคณะกรรมการบริหารโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประกอบด้วยผู้บริหารจากทุกหน่วยใน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ซึ่งจะมีการจัดประชุมทุกเดือน โดยมีผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจเป็นประธาน ทำหน้าที่หลักในการตัดสินใจในความจำเป็นและเหมาะสมในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ต่างๆ ตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
นายร้อยตำรวจ หรือตามที่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือผู้เกี่ยวข้องเสนอ โดยมุ่งเน้นเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนายร้อยตำรวจ
    เมื่อมีการอนุมัติแล้ว จึงให้แต่ละหน่วยที่รับผิดชอบดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายจากมติที่ประชุมบริหาร  หากการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้นั้น ๆ ต้องขออนุมัติงบประมาณ จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องประมวลเรื่องในนามของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ(โดยงานแผนและงบประมาณ กองบังคับการอำนวยการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ) เสนอไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณในการจัดหาแล้ว ก็จะนำเรียนผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจทราบ และนำชี้แจงในที่ประชุมบริหารเพื่อมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องไปดำเนินการต่อไป
การติดตามและการกำกับดูแล  โดยให้หน่วยที่รับผิดชอบรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินการทำงานให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจทราบ ผ่านที่ประชุมบริหารโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
การประเมินผล  แบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกันคือ
1. ประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ และอาจารย์ ที่มีต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
2. ประเมินผลที่เกิดจากการ ปรับปรุง/เพิ่มเติม สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ
การสรุปผล รายงานให้ที่ประชุมบริหารทราบ เพื่อเตรียมการปรับปรุงหรือพัฒนาในปีต่อไป
 
2. มีการนำระบบและกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน และประเมินกระบวนการ
     การสำรวจความเพียงพอ
     การสำรวจความเพียงพอและเหมาะสมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ รร.นรต. ได้จัดหาให้กับหลักสูตร รป.บ. สาขาวิชาการตำรวจนั้น มีการสำรวจในช่วงต้นปีการศึกษา 2561 เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2561 โดยเป็นการสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์ และ นักเรียน ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ พบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ รร.นรต. จัดเตรียมไว้ให้ค่อนข้างมาก สิ่งที่มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจะเป็นในเรื่องของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางกายภาพ เช่น ต้องการให้มีการปรับห้องเรียนให้ทันสมัย ต้องการให้มีอินเตอร์เนตความเร็วสูงในห้องเรียน และ ควรนำ application ใหม่ๆมาช่วยในการเรียนการสอน
     ในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ มีการดำเนินการจัดให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ แบ่งเป็น 4 ด้าน ดังนี้
     ด้านสารสนเทศ
         ในระหว่างปีการศึกษา 2561 รร.นรต. ได้มีการลงทุนในการพัฒนาระบบห้องสมุด ด้วยโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเลคทรอนิกส์ก้าวสู่ RPCA Smart Academy งบลงทุน 3,200,000 บาท และมีการจัดสรรทรัพยากรด้านการเรียนการสอนโดยการนำสื่อที่ทันสมัยมาใช้ในการสอนนั้น รร.นรต. ได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 3,000,000 บาท นอกจากนี้ ฝ่ายเทคโนโลยี ศูนย์บริการทางการศึกษา ก็ยังได้จัดผลิตสื่อการเรียนรู้ กิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการในการเรียนรู้ต่างๆ ในรูปแบบของข้อมูลภาพและเสียง  วิดีทัศน์ เผยแพร่ผ่านสื่อ Social Network มีผลการ view สื่อการเรียนการสอนที่จัดไว้เพิ่มขึ้น 5,000 ครั้ง (โดยประมาณ) จากปีการศึกษา 2560 มีผู้ชม 2,000 ครั้ง ในระหว่างปีการศึกษา 2561 มีคนเข้าชมเพิ่มเป็น 7,000 ครั้ง
     สำหรับโครงการพัฒนาการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ นอกจากนี้มีการพัฒนาการเรียนการสอนให้ นรต. สามารถเข้าทบทวนบทเรียนด้วยตนเองได้ผ่านทาง facebook คลังวิทยา ของ คณะสังคมศาสตร์ รร.นรต. การสอน นรต. ด้วยสื่อการสอนที่ทันสมัยนั้น เกิดจากดำริของผู้บริหารที่ต้องการให้ นรต. ได้เรียนรู้เหตุการณ์ สภาพสังคม และ สิ่งที่เกี่ยวกับงานที่ นรต. จะต้องเผชิญเมื่อออกไปปฏิบัติงานจริง จึงมีการบันทึกข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวกับงานตำรวจไว้ใน line group  ของ รร.นรต. ซึ่งอาจารย์และข้าราชการตำรวจใน รร.นรต. เท่านั้นที่จะสามารถเปิดเข้าไปดูได้ และสามารถนำมาเป็นสื่อในการสอนในห้องเรียนให้ นรต. ได้เรียนรู้ เช่น คลังวิทยาที่ 100 เรื่อง diplomatic security service, คลังวิทยาที่ 99 เรื่อง security training และ คลังวิทยา 156 เมาแล้วขับ เมาแล้วไม่เป่า เป็นต้น
     ด้านวิชาการ    
    สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางวิชาการของ รร.นรต. จะเน้นที่การเรียนรู้ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 รร.นรต. มีสิ่งสนับสนุนสำหรับการเรียนรู้ดังนี้
     -ห้องจำลองสถานที่เกิดเหตุ
     -ห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์
     -ศูนย์ตรวจวัตถุพยานทางดิจิตัล
     -ศูนย์เครื่องมือวิจัยทางวิทยาศาสตร์
     -ห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาสิ่งแวดล้อม
 
     สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ทางด้านวิชาการของ รร.นรต. ซึ่งจัดสร้าง/ จัดหาระหว่างปีการศึกษา 2561 โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจวัตถุพยานทางชีวภาพ (Biological Trace Evidence Laboratory) งบลงทุน 5,000,000 บาท เพื่อให้ นรต ได้มีการใช้งานห้องปฏิบัติการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ รร.นรต. จึงได้สนับสนุนให้เกิดโครงการต่างๆดังนี้
     มีโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของห้องปฏิบัติการและการใช้งานกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope : SEM)
     โครงการอบรมการใช้เครื่องมือการตรวจสถานที่เกิดเหตุและเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์
     โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ ICP-OES สำหรับการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์
     มีการจัดสรรและจัดอบรมการใช้งานฐานข้อมูล EBSCO ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ Criminal Justice Abstracts with Full Text เพื่อเป็นฐานข้อมูลงานวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของนักเรียนและอาจารย์ ตลอดจนส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานการเรียนการสอนให้มีความก้าวหน้าและสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงสำหรับการเรียนการสอนและงานวิจัย
    มีการจัดทำคู่มือการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดทำคู่มือการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องมือทางนิวิทยาศาสตร์ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.20 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ การมีคู่มือการใช้งานนั้นทำให้เกิดการปฏิบัติงานที่เป็นระบบและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งลดการผิดพลาดจากการทำงาน อันจะก่อให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
     ทักษะทางวิชาชีพ
      - กล้องส่องเป้าทดสอบทางปืน 750,000 บาท
      - โครงการจัดหาอุปกรณ์เครื่องช่วยฝึกทางยุทธวิธีตำรวจ 11,438,900 บาท
      - ก่อสร้างศูนย์ฝึกทางวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมาย รร.นรต. 100,108,200 บาท       
      - มีเครื่องฝึกยิงปืนจำลองสถานการณ์ (Simulator) ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง จำนวน 1 ระบบ พร้อมห้องฝึก จำนวน  4 ห้อง จำนวน  1 ระบบ  วงเงิน 30,000,000 บาท  เพื่อใช้ในการเรียนการสอน ในการฝึกพื้นฐานการยิงปืนตลอดจนการฝึกยิงปืนทางยุทธวิธี, การฝึกตรวจค้นในอาคาร, การฝึกเผชิญเหตุของเจ้าหน้าที่,  การตัดสินใจในการยิงปืนและการฝึกยิงปืนในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการฝึกทบทวนครูฝึกยิงปืนการดำเนินงานในแต่ละระดับ โดยสามารถช่วยให้เพิ่มจำนวน นรต.การฝึกยิงปืนได้มากขึ้นจากเดิม ช่วยประหยัดงบประมาณด้านกระสุนปืนในการใช้ฝึกยิงปืนในแต่ละปีได้มาก  
      จากการเรียนการฝึกสอนการยิงปืนโดยใช้เครื่องฝึกยิงปืนจำลอง ด้วยกระสุนจริง ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากหน่วยงานในสังกัด ตร., หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย, หน่วยงานจากต่างประเทศ และภาคเอกชน  โดยมีหน่วยงานต่างๆ ขอรับ การสนับสนุนครูฝึกยิงปืนและหลักสูตรการยิงปืน  จากหน่วยงานอื่นเป็นจำนวนมากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
      - มีการประเมินกระบวนการ ผลจากการประเมินความพึงพอใจของ นรต.ที่มีต่อการเรียนการ สอนวิชายิงปืนหัวข้ออุปกรณ์ให้นักเรียนใช้ในการฝึกอย่างทั่วถึง โดยได้คะแนน 91.47 อยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” และจากการสังเกตของครูฝึก พบว่า นรต. มีทักษะการยิงปืนที่เพิ่มขึ้น เช่น ทักษะการเหนี่ยวไกปืน, การเล็ง, การหายใจขณะยิงปืน และทักษะการตัดสินใจใช้อาวุธปืนที่ดีและมีประสิทธิภาพ แต่ยังพบปัญหา นรต.บางรายที่มีทักษะการยิงปืนที่ยังไม่ดี และผลการสอบมีคะแนน
สอบอยู่ในเกณฑ์คะแนนต่ำ และมีแนวโน้มที่จะสอบตกในปลายภาคการศึกษา เนื่องจาก 1. นรต. ไม่เคยฝึกยิงปืนมาก่อน ทำให้ขาดพื้นฐานและทักษะในการ ยิงปืน 2. นรต.ไม่มีเวลาทบทวนการฝึก
    - การพัฒนาทางร่างกาย    
      โครงการก่อสร้างอาคารวิทยาศาสตร์การกีฬา รร.นรต. 30,000,000 บาท เป็นสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ รร.นรต. ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
      จัดให้มีห้องออกกำลังกาย (เวทเทรนนิ่ง) ประจำอาคารนอน นรต.ทุกชั้นปี เพื่อให้ นรต.ได้ออกกำลังกายอย่างครบวงจร เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนตามหลักวิทยาศาสตร์การกีฬา โดยมีการจดสถิติก่อน-หลัง การออกกำลังกายด้วยเวทเทรนนิ่ง ว่ามีการพัฒนาด้านร่างกายที่ดีขึ้นหรือไม่  จากการจดสถิติ นรต.มีการพัฒนาด้านความแข็งแรงของร่างกายเพิ่มมากขึ้น มีความแข็งแรงทั้งทางร่างกาย จิตใจ รูปร่าง สง่างาม สมส่วน มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีความสง่าผ่าเผย
      มีการประเมินความพึงพอใจในการจัดให้มีห้องออกกำลังกาย (เวทเทรนนิ่ง) ผลการประเมิน อยู่ที่ระดับมาก โดย นรต. มีข้อเสนอแนะให้เพิ่มอุปกรณ์ในการออกกำลังกายให้เพียงพอและเหมาะสมมากกว่านี้    
      ผลการสำรวจความพึงพอใจ ของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ จากอาจารย์ผู้สอนและนักเรียนนายร้อยตำรวจ ในปีการศึกษา 2561 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.55 อยู่ในระดับมาก มีข้อแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการสำรวจครั้งนี้คือ แหล่งเรียนรู้ไม่เพียงพอสำหรับนักเรียน ควรเพิ่มห้องปฏิบัติการ  ห้องสำหรับทำ workshop และห้องสำหรับฝึกฝนตนเองหลังเวลาเรียน
3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน
     จากผลการประเมินในปีการศึกษา 2561  ถึงแม้ว่าผลประเมินจะได้ระดับความพึงพอใจมาก แต่การพัฒนาเพื่อให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น ได้มีการปรับปรุงดังนี้
     - การพัฒนาด้านสารสนเทศ
       ห้องสมุด รร.นรต. ได้มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน
ได้มีโครงการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศด้านวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้มีทรัพยากรสารสนเทศหลากหลายรูปแบบและทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
      ได้มีการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 รวมถึงทรัพยากรสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมารวบรวมไว้ให้บริการแก่ นักเรียนนายร้อยตำรวจ นักเรียนอบรมหลักสูตรต่างๆ คณาจารย์ ข้าราชการตำรวจ และประชาชนทั่วไป ได้ศึกษาค้นคว้า และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้
     มีบริการแนะนำหนังสือที่น่าสนใจผ่านระบบ Digital Bookshelves ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการแสดงข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ เช่น หนังสือดิจิตอล ไฟล์วิดีทัศน์ โดยผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลหนังสือในห้องสมุดผ่านหน้าจอ Touch Screen ได้ตามต้องการ
     จัดทำโครงการ “ห้องสมุดเปิด” (Open Library) สามารถเข้าใช้บริการนอกเวลาราชการได้    จัดให้มีระบบคีย์การ์ดในการเข้าใช้ห้องสมุดและการยืมหนังสือโดยระบบจะบันทึกข้อมูลวันเดือนปีที่ยืม และค่าปรับเมื่อส่งคืนเกินระยะเวลา โดยเจ้าหน้าที่ไม่จำเป็นต้องมีการบันทึกลงในสมุด
     จากการที่มีการจัดทำโครงการห้องสมุดเปิด ( Open Library ) เพื่อให้บริการห้องสมุดนอกเวลาราชการซึ่งมีการตั้งเป้าหมายให้มีการใช้บริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 นั้น พบว่าจากสถิติการเข้าห้องสมุดเวลาดังกล่าว มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย  จากเดือน มิ.ย.2561 (ก่อนจัดทำโครงการ) มีผู้เข้าใช้บริการ 1,550 คน มีสถิติเพิ่มขึ้นเป็น 1,852 คนในเดือน ก.ค.2562 คิดเป็นร้อยละ 19.48 และเพิ่มขึ้นเป็น 1,893 คนในเดือน ส.ค.2562 คิดเป็นร้อยละ 22.13
- การพัฒนาทางวิชาการ
    มีการจัดทำคำขอตั้งงบลงทุนงบประมาณ 2562 โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินคดีค้ามนุษย์โดยยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางของ ตร.ประจำปีงบประมาณ 2562 และโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการการตรวจ
วัตถุพยานทางชีววิทยา
    = มีการจ้างเหมาปรับปรุงห้องปฏิบัติการการตรวจวัตถุพยานทางชีววิทยา
    = มีการจัดซื้อเครื่องมือตรวจสถานที่เกิดเหตุ
    = มีการจัดซื้อเครื่องตรวจสอบปริมาณสารพันธุกรรมในสภาพจริงฯ
    จากการที่ได้มีห้องปฏิบัติการต่างๆ ใน รร.นรต. ครบถ้วนขึ้น ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมีพัฒนาการได้
อย่างชัดเจน หลังจากอบรมแล้วพบว่าผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ก่อนอบรมนั้น มีการ
ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจำนวน 2.75 หลังอบรมแล้ว นรต. สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
   -  ด้านทักษะทางวิชาชีพ
   ได้นำ นรต.กลุ่มที่มีทักษะการยิงปืนยังไม่ดี เช่น การเหนี่ยวไกปืน มีการกระตุกไกปืน การเล็งไม่ถูกวิธี การกลั้นลมหายใจขณะยิงไม่ถูกต้อง และผลการสอบมีคะแนนสอบอยู่ในเกณฑ์คะแนนต่ำมาปรับปรุงทักษะการยิงปืน ซึ่ง นรต.ที่มีคะแนนการทดสอบยิงปืนครั้งแรก (สถานีที่ 1) ที่ได้คะแนนต่ำกว่า 15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน มีจำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 โดยจัดให้มีการสอนเสริมให้กับ นรต. ดังกล่าว ในช่วงเวลาว่างของ นรต.กับครูฝึกยิงปืน โดยดำเนินโครงการ ฝึกอบรมการยิงปืนทางยุทธวิธีให้กับ นรต. ที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรม และฝึกยิงปืนเพิ่มเติมให้กับ นรต. ที่มีผลคะแนนการยิงปืนต่ำ โดยเป็นการ นำอุปกรณ์การฝึกที่ทันสมัยมาช่วย ในการฝึก เช่น เป้าพลิก/เป้าล้มลุก เป้าเคลื่อนที่ สถานียิงปืนในภาวะความกดดัน เป้าปืนที่ใช้ในการตัดสินใจ ยิงหรือไม่ยิง (Shoot or No Shoot) และการยิงปืนในสถานการณ์จำลอง (Simulator) ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง
- การพัฒนาทางร่างกาย
    บก.ปค.ได้นำผลจากการสำรวจ ไปจัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อ นรต. โดยหลังจาก นรต.มีอุปกรณ์ออกกำลังกายเพียงพอแล้ว ส่งผลให้ นรต.ทุกนายมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ดีขึ้น โดยการเปรียบเทียบก่อนหลังจากการมีอุปกรณ์การออกกำลังกายที่เพียงพอ นรต.ทดสอบสมรรถภาพร่างกายวิ่งระยะทาง 10 กม. ใช้เวลา 65 นาที หลังเข้าร่วมโครงการฯ นรต.ใช้เวลาในการวิ่งเพียง 55 นาที
4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
    - ด้านสารสนเทศ    
     ทรัพยากรสารสนเทศด้านวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมาย มีความหลากหลายและเพียงพอสำหรับบริการนักเรียนนายร้อยตำรวจ อาจารย์ และข้าราชการตำรวจ มีทรัพยากรสารสนเทศเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สำหรับผู้เข้าใช้บริการห้องเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 มีการจัดทำคู่มือการใช้งานระบบ Digital Bookshelves สำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุด
    ดำเนินการปรับปรุงระบบไฟฟ้าส่องสว่าง บริเวณพื้นที่ห้องโถงชั้น 1 เพื่อให้มีแสงสว่างเพียงพอต่อการใช้บริการ มีรายการภาพยนตร์ใหม่ๆ สำหรับให้บริการนักเรียนนายร้อยตำรวจในห้อง RPCA CASE STUDY CENTER (MINI THEATER)
 
    - ด้านทักษะทางวิชาชีพ
     ได้นำ นรต. ที่ทักษะการยิงปืนที่ไม่ดี จำนวน  63 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 มาทำการสอนเสริมโดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า หลังจากได้รับการฝึกแล้วทั้งหมดต้องได้คะแนนยิงปืนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  50 ทุกคน ผลจากการปรับปรุงแล้วพบว่า นรต.ทุกนาย ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน โดยโครงการฝึกอบรมการยิงปืนทางยุทธวิธี มีการพัฒนาพื้นฐานและทักษะการยิงปืนที่ดีขึ้น
     จากการเรียนการฝึกสอนการยิงปืนโดยใช้เครื่องฝึกยิงปืนจำลอง สถานการณ์ (Simulator) ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากหน่วยงานในสังกัด ตร., หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย  หน่วยงานจากต่างประเทศ และภาคเอกชน  โดยมีหน่วยงานต่างๆ ขอรับ การสนับสนุนครูฝึกยิงปืนและหลักสูตรการยิงปืน  ด้วยเครื่องฝึกยิงปืน จำลองสถานการณ์ (Simulator) ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริงเพื่อให้ ฝึกสอนการใช้อาวุธปืนให้กับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นเป็นจำนวนมาก ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
    - ด้านวิชาการ
    = มีการจัดโครงการฝึกอบรมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพื้นฐานการทำงานด้าน PCR/ Real-Time PCR และการประยุกต์ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์
    = มีการจัดโครงการอบรมการใช้เครื่องมือการตรวจสถานที่เกิดเหตุและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2562
      ผลจากการปรับปรุง/พัฒนา/บูรณาการการเรียนการสอนพบว่า นรต. และ ข้าราชการตำรวจที่เข้ารับการฝึกอบรมโครงการดังกล่าวข้างต้นฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและนำความรู้ที่ได้จาการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
5. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมิน
    สามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน
   - ด้านสารสนเทศ    
          การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก และสิ่งสนับสนุนทางการศึกษา เช่น มีห้องบริการหนังสือต่าง ๆ จำนวน 8 ห้อง มีฐานข้อมูลทรัพยากรการเรียนรู้ผ่านอินเตอร์เน็ต  มีหนังสือและทรัพยากรสารสนเทศรวมทั้งสิ้น 93,648  เล่ม และฐานข้อมูลออนไลน์ ที่จัดเก็บทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์ วิทยานิพนธ์  งานวิจัย วารสาร บทความ  เอกสารประกอบการสอน สื่อการเรียนรู้ คู่มือแนวปฏิบัติของอาจารย์ เป็นต้น
    สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ มีห้องเรียนคอมพิวเตอร์ สำหรับอาจารย์ประจำวิชาใช้ในการเรียนการสอนของนักเรียนนายร้อยตำรวจ มีบริการคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อใช้ในการเรียน และสนับสนุนการเรียนรู้ จำนวน 80 เครื่อง มีบริการ WiFi สำหรับผู้เข้ามาใช้บริการ โดยสามารถเชื่อมต่อกับระบบ WiFi ได้ทุกที่ทุกเวลา
    มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดยการนำเทคโนโลยี RFID มาใช้ร่วมกันเพื่อความสะดวกรวดเร็วของผู้ใช้บริการ และผู้ปฏิบัติงาน
    มีแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่
    * การเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือพัฒนาห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ในส่วนโครงการพัฒนา ระบบจัดเก็บเอกสารในรูป อิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection) ของ ThaiLIS
    * Matichon e-library เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมข่าว บทสัมภาษณ์ บทความ บทวิเคราะห์ วิจารณ์ รายงาน หรือข้อเขียนอื่น ๆ ซึ่งรวบรวมจากหนังสือพิมพ์กว่า 30 ฉบับ สามารถค้นข้อมูลได้ตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน
    * iG Library ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ของ iG Publishing มีเนื้อหาครอบคลุมสาขาวิชาการบริหารและจัดการธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง ธรรมาภิบาล ศาสตร์ว่าด้วยการจัดการห้องสมุด เป็นต้น
    * CRCnetBASE เป็นฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) จากสำนักพิมพ์ Taylor & Francis ครอบคลุมเนื้อหา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ บริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์ บริหารรัฐกิจ กฎหมาย นิติเวชศาสตร์ การเกษตร สาธารสุข ฯลฯ
     มีการจัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานระบบ Digital BookShelves สำหรับผู้ใช้บริการห้องสมุด
     ห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นสถานที่เยี่ยมชม ดูงาน ของสถาบันต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    - ด้านวิชาการ
      มีการพัฒนาห้องปฏิบัติการและอุปกรณ์เครื่องมือให้ได้มาตรฐาน ทันสมัย รวมทั้งการฝึกนักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง และนำความรู้ที่ได้จาการอบรม
มาถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
     ทั้งนี้ ห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ยังเป็นศูนย์รวมของแหล่งเรียนรู้ กิจกรรม และบริการวิชาการแก่หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยมีนักเรียนนายร้อยตำรวจเป็นวิทยากรร่วมกับคณาจารย์ ในปี 2561 มีผู้เข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก

กระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ และอาจารย์
ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

เกณฑ์ การดำเนินงานในแต่ละระดับ
ระดับ 1
 
มีระบบและกลไกในกระบวนการปรับปรุงตามผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนนายร้อยตำรวจ และอาจารย์ต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้      
    รร.นรต.ได้มีการสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์และนักเรียนต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้เป็นประจำทุกปี จากนั้นได้สรุปนำเรียนผู้บังคับบัญชา และ แจกจ่ายรายงานผลให้หน่วยได้รับทราบ
การดำเนินการ
    มีการประเมินกระบวนการปรับปรุงตามผลประเมินความพึงพอใจ โดยการกำกับติดตามในที่ประชุมคณะฯ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาตามผลการประเมินเป็นอย่างไร โดยพบว่านักเรียนต้องการให้มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาทำสื่อเพื่อการเรียนรู้ให้สะดวกและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ทางคณะสังคมศาสตร์ได้จัดการรวบรวมคลิปวิดีโอที่ใช้ในการเรียนการสอนของอาจารย์ และนำรวมรวมไว้เป็นคลังวิทยาของคณะสังคมศาสตร์เพื่อให้ความสะดวกกับอาจารย์ในการนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้มีการแจ้งในที่ประชุมบริหาร รร.นรต. เพื่อให้มีการปรับปรุงให้ระบบ internet และ wifi ของ รร.นรต. มีความเสถียรมากยิ่งขึ้น
    คณะนิติวิทยาศาสตร์ได้นำความคิดเห็นของอาจารย์และนักเรียนพิจารณาและดำเนินการจัดตั้ง ห้องปฏิบัติการตรวจวัตถุพยานทางชีวภาพ (Biological Trace Evidence Laboratory) งบลงทุน 5,000,000 บาท โดยเป็นการขออนุมัติจัดสรรงบประมาณการดำเนินงานจาก ตร.
ระดับ 2
 
มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน
       มีการพัฒนาระบบ Wifi ให้มีความเสถียรขึ้น อาจารย์สามารถใช้สื่อ IT ในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เช่น สามารถใช้ระบบ Kahoot และ  Mentimeter ในการเรียนการสอนวิชาสังคมวิทยา ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ในวิชาภาษาอังกฤษโดยจัดทำแหล่งการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาด้วยตนเองได้นอกห้องเรียนและทุกเวลาที่สะดวก มีการรวบรวมศัพท์ทางภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการตำรวจให้ นรต. สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
คณะนิติวิทยาศาสตร์ได้จัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คือ ห้องปฏิบัติการการตรวจวัตถุพยานทางชีววิทยา มาให้นักเรียนลองใช้พบว่า ยังไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร จึงได้ปรับปรุงโดยการตั้งโครงการอบรมการใช้เครื่องมือฯ ซึ่งจัดอบรมให้กับ นรต. ข้าราชการตำรวจในสังกัดและนักศึกษาหลักสูตร วท.ม.
มีการประเมินกระบวนการ
ผลจากการเข้ารับการฝึกอบรมโครงการดังกล่าวข้างต้นฯ มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือและนำความรู้ที่ได้จาการอบรมมาประยุกต์ใช้ในการทำวิจัยและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
 
สำหรับด้านการฝึกทักษะทางวิชาชีพ เมื่อ รร.นรต. ได้รับการส่งมอบเครื่องฝึกยิงปืนจำลองสถานการณ์ (Simulator) ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง ได้นำมาใช้ในการฝึกสอนการยิงปืนให้กับ นรต. โดยสามารถช่วยให้ นรต. สามารถเพิ่มจำนวนการฝึกยิงปืนได้มากขึ้นจากปกติ โดยที่เมื่อก่อนนั้นต้องนั่งรอเพื่อรอรับการฝึกยิงปืน ซึ่งปัจจุบันไม่ต้องรอนานเหมือนเมื่อก่อน และการฝึกด้วยเครื่องฝึกยิงปืนจำลองสถานการณ์ (Simulator) ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริงสามารถประหยัดงบประมาณกระสุนปืนในการใช้ฝึกยิงปืนได้มาก และ นรต. มีโอกาสฝึกได้มากกว่าแต่ก่อน ประกอบกับในการใช้เครื่องฝึกยิงปืนจำลองสถานการณ์ฝึกยิงปืนสามารถใช้ฝึกการตัดสินใจในการยิงปืนให้กับ นรต. ในการใช้สถานการณ์จำลองต่างๆ ฝึกให้ นรต. เสริมสร้างทักษะการยิงปืนทางยุทธวิธี
มีการประเมินกระบวนการ
ผลจากการประเมินความพึงพอใจของ นรต. ที่มีต่อการเรียนการสอนวิชายิงปืนหัวข้ออุปกรณ์ให้นักเรียนใช้ในการฝึกอย่างทั่วถึง โดยได้คะแนน 91.467 อยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” และจากการสังเกตของครูฝึกพบว่า นรต. มีทักษะการยิงปืนที่เพิ่มขึ้น เช่น ทักษะการเหนี่ยวไกปืน,  การเล็ง, การหายใจขณะยิงปืน และทักษะการตัดสินใจใช้อาวุธปืนที่ดีและมีประสิทธิภาพ
แต่ยังพบปัญหา นรต. บางรายที่มีทักษะการยิงปืนที่ยังไม่ดี และผลการสอบมีคะแนนสอบอยู่ในเกณฑ์คะแนนต่ำ และมีแนวโน้มที่จะสอบตกในปลายภาคการศึกษา เนื่องจาก
1. นรต. ไม่เคยฝึกยิงปืนมาก่อน ทำให้ขาดพื้นฐานและทักษะในการยิงปืน
2. นรต. ไม่มีเวลาทบทวนการฝึก
ระดับ 3
 
มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน
     จากผลการประเมินในปีการศึกษา 2561 ข้างต้น คณะนิติวิทยาศาสตร์ได้ดำเนินการปรับปรุง/พัฒนา/บูรณาการจากการประเมินผล ดังนี้
1. มีการจัดโครงการฝึกอบรมเสริมสร้างความรู้พื้นฐานของห้องปฏิบัติการและการใช้งานกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope : SEM)
2. มีการจัดโครงการอบรมการใช้เครื่องมือการตรวจสถานที่เกิดเหตุและเครื่องมือทางนิติวิทยาศาสตร์
3. มีการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การใช้เครื่องมือ ICP-OES สำหรับการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์
4. มีการจัดอบรมการใช้งานฐานข้อมูล EBSCO ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ Criminal Justice Abstracts with Full Text เพื่อเป็นฐานข้อมูลงานวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของนักเรียนและอาจารย์
    หลังจากอบรมแล้วพบว่าผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ก่อนอบรมนั้น มีความเข้าใจในการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพจำนวน 2.75 หลังอบรมแล้ว นรต. สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
   สำหรับด้านทักษะทางวิชาชีพ ศฝต. ได้นำ นรต. กลุ่มที่มีทักษะการยิงปืนที่ยังไม่ดี เช่น การเหนี่ยวไกปืนมีการกระตุกไกปืน การเล็งไม่ถูกวิธี การกลั้นลมหายใจขณะยิงไม่ถูกต้อง และผลการสอบมีคะแนนสอบอยู่ในเกณฑ์คะแนนต่ำ มาปรับปรุงทักษะการยิงปืน ซึ่ง นรต. ที่มีคะแนนการทดสอบยิงปืนครั้งแรก (สถานีที่ 1) ที่ได้คะแนนต่ำกว่า 15 คะแนน จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน มีจำนวน  63 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 โดยจัดให้มีการสอนเสริมให้กับ นรต. ดังกล่าว ในช่วงเวลาว่างของ นรต. กับครูฝึกยิงปืน โดยดำเนินโครงการฝึกอบรมการยิงปืนทางยุทธวิธีให้กับ นรต. ที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรม และฝึกยิงปืนเพิ่มเติมให้กับ นรต. ที่มีผลคะแนนการยิงปืนต่ำ
ระดับ 4
 
มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
การมีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของคณะนิติวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ศูนย์ตรวจวัตถุพยานทางดิจิทัลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อใช้ในการพัฒนาองค์ความรู้และฝึกฝนการใช้โซเชียลมีเดียเรื่องการสืบสวนและหาพยานหลักฐานต่างๆ ให้กับ นรต. ทำให้นักเรียนได้เรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริง รวมทั้งมีคณาจารย์คอยให้คำปรึกษางานวิจัยและงานวิชาการโดยการใช้เครื่องมือเป็นสื่อ ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ทักษะ การทดลอง การแก้ไขปัญหา การคิดวิเคราะห์อย่างมีระบบ ก่อให้เกิดสร้างผลงานและพัฒนาต่อยอดเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานวิชาชีพตำรวจ จากนั้นนำผลงานนั้นไปสู่เข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการ โดยมี นรต. 2 นาย ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนร่วมมหกรรมนักเรียนโรงเรียนตำรวจในภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 3 (PASFA)  ณ มหาวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติเกาหลี และได้รับรางวัล ความเป็นเลิศทางวิชาการ ลำดับที่ 3 ของผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 6 ทีม
สำหรับทักษะทางวิชาชีพ ก่อนเข้ารับการสอนเสริม นรต. ที่ทักษะการยิงปืนที่ไม่ดี จำนวน  63 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 มาการดำเนินกิจกรรมการสอนเสริมให้กับ นรต. ดังกล่าว โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า หลังจากได้รับการฝึกแล้ว นรต. ร้อยละ 100 ต้องได้คะแนนยิงปืนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 50 ทุกคน  ผลจากการปรับปรุงแล้วพบว่า นรต. ทุกนาย ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน มีการพัฒนาพื้นฐานและทักษะการยิงปืนที่ดีขึ้น เช่น ท่าทางการยืนยิงได้ถูกต้อง การกลั้นลมหายใจขณะยิงได้ถูกต้อง การเล็งเป้าได้ถูกต้อง การเหนี่ยวไกได้ถูกต้อง การตัดสินใจยิง/ไม่ยิงได้ถูกต้อง ความมั่นใจในการใช้/การยิงปืน
ระดับ 5 มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน    
    ห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ยังเป็นศูนย์รวมของแหล่งเรียนรู้ กิจกรรม และบริการวิชาการแก่หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยมีนักเรียนนายร้อยตำรวจเป็นวิทยากรร่วมกับคณาจารย์ ในปี 2561 มีผู้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการฯ  ดังนี้
   1. คณะนายตำรวจจากประเทศอินโดนีเซีย  
   2. คณาจารย์ และนักศึกษาวิทยาลัยตำรวจยูนนาน สาธารณะรัฐประชาชนจีน
   3. คณาจารย์และนักเรียนร้อยตำรวจ จากโรงเรียนตำรวจประชาชนเวียดนาม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
   4. พล.ต.ท.อ่อง วิน อู้ ผบ.ตร.เมียนมาร์ และคณะ จากประเทศพม่า
   5. คณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัยตำรวจแห่งชาติเกาหลี จากประเทศเกาหลี
   6. ผบ.ตร. และคณะ จากประเทศสาธารณรัฐมัลดีฟส์
    ทางด้านทักษะทางวิชาชีพ จากการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัยมีประสิทธิภาพจริง ทำให้การเรียนการฝึกสอนการยิงปืนโดยใช้เครื่องฝึกยิงปืนจำลองสถานการณ์ (Simulator) ระบบ 3 มิติ ด้วยกระสุนจริง เป็นที่ยอมรับและมีหน่วยงานต่างๆ ขอรับการสนับสนุนครูฝึกยิงปืนและหลักสูตรการยิงปืน  เป็นจำนวนมาก ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ผลการประเมินตนเอง
         ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวบ่งชี้
เป้าหมาย
 
ผลการ
ดำเนินงาน
คะแนนที่ได้ การบรรลุเป้าหมาย
สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 4 ระดับ   4 ระดับ  4 คะแนน o สูงกว่าเป้าหมาย
► เป็นไปตามเป้าหมาย
o ต่ำกว่าเป้าหมาย