เข้าชม : 60 |

 ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕ การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ
 
เกณฑ์มาตรฐาน (บก.ปค., ตศ., นว, และ สค.)
๑. จัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิต และการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในสถาบัน
๒. มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการ กิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร แหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
๓. จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
๔. ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ ๑-๓ ทุกข้อไม่ต่ำกว่า ๓.๕๑ จากคะแนนเต็ม ๕
๕. นำผลการประเมินจากข้อ ๔ มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูล เพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
๖. ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์เก่า
 
เกณฑ์การประเมิน
คะแนน ๑ คะแนน ๒ คะแนน ๓ คะแนน ๔ คะแนน ๕
มีการดำเนินการ
๑ ข้อ
มีการดำเนินการ
๒ ข้อ
มีการดำเนินการ
๓ – ๔ ข้อ
มีการดำเนินการ
๕ ข้อ
มีการดำเนินการ
๖ ข้อ
 
ผลการดำเนินงาน
เกณฑ์ การดำเนินงานในแต่ละข้อ หมายเลขเอกสาร
ข้อที่ ๑ จัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิตและการเข้าสู่อาชีพแก่นักศึกษาในสถาบัน
    การจัดบริการให้คำปรึกษา แนะแนวด้านการใช้ชีวิต และ การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่อาชีพของ นรต. มีความสำคัญแก่สังคมเป็นอย่างมาก เพราะตำรวจนั้นเป็นผู้ที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน ต้องมีทั้งความพร้อมทั้งด้านการใช้กฎหมาย มีคุณธรรม จริยธรรม วินัย และภาวะผู้นำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสังคม นรต. ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ใน รร.นรต. การที่มีคนหมู่มากใช้เวลาอยู่ด้วยกันย่อมเกิดปัญหากระทบกระทั่งกันได้เสมอ การให้คำปรึกษาจึงเป็นเครื่องช่วยสำคัญให้ นรต. สามารถปรับตัวเข้าหากันได้ มีระเบียบวินัย มีความประพฤติดี มีคุณธรรมจริยธรรม
    รร.นรต. มีหน้าที่ดูแลให้คำปรึกษาแก่นักเรียน บก.ปค. ซึ่งมีหน้าที่ดูแล นรต. ในภาพรวม ได้ดำเนินการออกคำสั่งมอบหมายการปกครองบังคับบัญชาตามมาตรการควบคุมและเสริมสร้างความประพฤติและระเบียบวินัยข้าราชการตำรวจ โดยให้มีหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา แนะนำในการใช้ชีวิต การประพฤติตน การวางตน ของ นรต.และมีการจัดนายตำรวจปกครองบังคับบัญชาในแต่กองร้อย และในแต่ละหมวด ตามคำสั่งฝ่ายปกครอง ๑ เรื่องมอบหมายการปกครองบังคับบัญชาตามมาตรการควบคุมและเสริมสร้างความประพฤติและระเบียบวินัยข้าราชการตำรวจ
    นอกจากการกำกับดูแลให้คำปรึกษาด้านวินัยแก่ นรต. แล้ว รร.นรต. ยังมีการจัดให้คำปรึกษาแก่นักเรียนในด้านวิชาการ โดยแต่ละคณะมีระบบกลไกลที่ใช้ในการให้บริการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาคือคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาให้แก่นักเรียนทุกคนตามอัตราส่วนจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์เป็นไปตามเกณฑ์ โดยมีหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการเรียนการสอนแก่นรต. และคอยให้การแนะนำช่วยเหลือเมื่อผลการเรียนตกต่ำ, มีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน นรต. ให้เป็นไปตามควมถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล, ให้คำแนะนำและให้แนวทางในการศึกษาต่อ รวมถึงแนวทางในการรับราชการตำรวจ ความสำคัญของอาจารย์ที่ปรึกษาแต่ละคณะนั้น คือยังทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างการเรียนวิชาการ และ การดูแลกำกับวินัยอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากท้ายคำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาของแต่ละคณะที่ระบุไว้ว่า “ประสานกับกองบังคับการปกครอง รร.นรต. ในการควบคุม กวดขันด้านระเบียบวินัยและความประพฤติของ รร.นรต.” จะเห็นได้ว่าการทำงานในการให้คำปรึกษาแก่นักเรียนนั้น ต้องมีควบคู่กันไปทั้งด้านวินัยในกองร้อยและด้านวิชาการ นักเรียนสามารถนัดพบกับอาจารย์ได้ และ ในแต่ละคณะก็ยังมีบริการจัดมุมให้คำปรึกษาแก่ นรต. อีกด้วย 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๑ - ๐๑
๑.๕ - ๑ - ๐๒
๑.๕ - ๑ - ๐๓
๑.๕ - ๑ - ๐๔
๑.๕ - ๑ - ๐๕
 
 
๑.๕ - ๑ - ๐๖
๑.๕ - ๑ - ๐๗
 
๑.๕ - ๑ – ๐๘
๑.๕ - ๑ –๐๙
๑.๕ - ๑ –๑๐
 
๑.๕ - ๑ –๑๑
ข้อที่ ๒ มีการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรแหล่งงานทั้งเต็มเวลาและนอกเวลาแก่นักศึกษา
    การให้ข้อมูลของหน่วยงานที่ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตรสำหรับ นรต. นั้นเป็นสิ่งที่ รร.นรต. ทำโดยเสมอมา ดังจะเห็นได้จาก website ของกองบังคับการปกครองที่ได้มีการลงประกาศ กิจกรรมต่างๆไว้เสมอๆ เพื่อที่จะเป็นการให้ข้อมูลกับ นรต. ทั้งในด้านกิจกรรมเสริมระหว่างเรียน และการใช้ชีวิตในระบบข้าราชการตำรวจ เช่น สถานที่ให้เรียนเสริมกับมหาวิทยาลัยภายนอก การลงนามถวายพระพรออนไลน์ และใน website ของแต่ละหน่วยยังได้มีแบบประเมินคุณภาพของการบริการด้านข้อมูลข่าวสารไว้ครบถ้วน
    คณะต่างๆใน รร.นรต. ยังมีการให้ข้อมูลเชิญชวน นรต. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่มีขึ้นอยู่เสมอๆ ตัวอย่างเช่น การประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมส่งบทความวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ รร.นรต. ด้านอาชญวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ การเพิ่มช่องทางติดต่อกับคณาจารย์ เพื่อสอบถามข้อมูลของหน่วยได้ โดยผ่านช่องทาง line  และ facebook ของแต่ละหน่วยงานใน รร.นรต. ซึ่งนับได้ว่าเป็นการใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่ออำนวยความสะดวกให้ทั้งแก่ นรต. และ บุคลากรของ รร.นรต.อีกด้วย  อีกทั้งยังมีบริการข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียนนายร้อยตำรวจ  เช่น  ข่าวสารการรับสมัคร นรต. และ นตท. ในส่วนของ ตร. ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจเพื่อขอรับทุนไปศึกษา ณ ต่างประเทศ, ประกาศโรงเรียนนายร้อยตำรวจเพื่อสรรหาพนักงานราชการทั่วไป เป็นต้น
นอกเหนือไปจากการบริการข่าวสารผ่านช่องทางอิเลคทรอนิกนั้น ในบางครั้ง การจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์ ก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจาก นรต. ส่วนหนึ่งนั้น อาจจะถูกจำกัดด้วยระเบียบ และ ข้อบังคับ ในเรื่องของการพกข้อมูลสื่อสารติดตัวตลอดเวลา ดังนั้น การจัดบอร์ดเพื่อประชาสัมพันธ์ให้บริการกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร ก็มีความจำเป็นที่ยังจะต้องคงไว้ ซึ่งบอร์ดเหล่านี้มีให้เห็นอยู่ทั่วไปบริเวณส่วนการศึกษา ของ นรต. มีทั้งการแจ้งข่าวสารกิจกรรม ข่าวทุน ข่าวแหล่งวิจัย ข่าวประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ไปจนถึงข่าวเรื่อง การมอบทุนการศึกษาต่างประเทศ เป็นต้น
 
 
๑.๕ - ๒ - ๐๑
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๒ – ๐๒
 
 
 
๑.๕ - ๒ – ๐๓
๑.๕ - ๒ – ๐๔
 
 
๑.๕ - ๒ – ๐๕
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๒ – ๐๖
ข้อที่ ๓ จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่นักศึกษา
    การจัดเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษาแก่ นรต. นั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อ นรต. เหล่านี้จบการศึกษาไปแล้วนั้นก็จะต้องทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนตลอดเวลา นรต.ต้องมีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และอุดมคติในวิชาชีพตำรวจ ซึ่งจำเป็นจะต้องพัฒนาเพิ่มเติมความรู้ที่จำเป็นจากประสบการณ์จริง ทาง รร.นรต. จึงจัดให้มีการบรรยายพิเศษแก่ นรต. ชั้นปีที่ ๔ (รุ่น ๖๘) โดยมีวิทยากร ผู้ที่เป็นตำรวจมีประสบการณ์ในการทำงานสูง ได้แก่ พล.ต.อ. อชิรวิทย์ สุวรรณเภสัช บรรยายเรื่องการปฏิบัติของข้าราชการตำรวจ ชั้นสัญญาบัตร, พล.ต.ต. สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข บรรยายเรื่องการสืบสวนคดีอาญา, พล.ต.ต. อภิชาติ สุริบุญญา บรรยายเรื่องงานตำรวจกับประชาคมอาเซียน และ พ.ต.อ. กริช แสงพล บรรยายเรื่องการเขียนโครงการ การบรรยายทั้งหมดนี้จัดขึ้นระหว่างเดือน ธันวาคม ๒๕๕๗ หรือ ก่อนที่ นรต.ชั้นปีที่ ๔ จะออกไปฝึกงานในเทอมสุดท้ายของการเป็นนักเรียน ซึ่งการฝึกงั้นด้านสอบสวนนั้นเป็นสิ่งจำเป็นที่ นรต. จะต้องเข้ารวมก่อนที่จะเรียนจบ เพราะเป็นการฝึกงานกับเหตุการณ์จริง คดีจริงๆ โดยมีพี่เลี้ยงเป็นข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ ทั้งนี้ เพื่อที่จะเป็นการเตรียม นรต. ให้มีความพร้อมทั้งกาย และ ใจ ก่อนจะเข้ารับราชการเป็นรองสารวัตร
การเตรียมความพร้อมให้กับ นรต. ด้านการเป็นพนักงานสอบสวนนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการก็สำคัญไม่แพ้กันคณะนิติวิทยาศาสตร์ตระหนักดีถึงความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์ ในการแก้ไขคดีต่างๆ เพื่อจะได้แสดงความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ โครงการการเรียนรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์โดยอาศัยประสบการณ์จริง จึงเป็นประโยชน์กับ นรต. เป็นอย่างมาก ส่งผลให้ นรต. เกิดความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ กับ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงาน ด้านสืบสวนสอบสวน เพื่อที่จะนำมาใช้ในกระบวนการสิบสวนสอบสวน ให้เกิดประสิทธิภาพ และ เอื้อประโชน์ต่อกระบวนการยุติธรรม มีการพา นรต. ดูงานบริษัท AIS เพื่อเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับระบบโครงข่าย สัญญานมือถือ การติดตามตรวจสอบข้อมูล เพื่อใช้ในงานตำรวจ และมีการดูงานที่ สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ (office of police forensic science) เพื่อดูการตรวจที่เกิดเหตุ การตรวจพิสูจน์อาวุธปืน เป็นต้น
    การเตรียมความพร้อมด้านระเบียบ วินัย และ วิทยาศาสตร์ อาจจะนำมาใช้ได้ดีกับการทำงานในอนาคตของ นรต. แต่การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพและความเสี่ยงต่างๆ ของ นรต. ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน รร.นรต. โดยคณะสังคมศาสตร์ จึงได้มีการจัดโครงการเสริมสุขภาพนักเรียนนายร้อยตำรวจและข้าราชการโรงเรียนนายร้อยตำรวจเรื่อง “ตำรวจรุ่นใหม่ ห่างไกลโรคเอดส์” ระหว่างช่วงเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๗
    นอกจากการเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้กับ นรต. โดยเหล่าคณาจารย์แล้วนั้น ท่านผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจก็ยังเล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้กับ นรต. เพื่อรองรับการเข้าเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยการเสริมสร้างสมรรถนะในการใช้ภาษาอังกฤษทางด้านการอ่าน คำศัพท์ และการสนทนา เอื้อประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติหน้าที่หลังสำเร็จการศึกษา และใช้เป็นเกณฑ์วัดความสามารถทางภาษาอังกฤษเพื่อการประกอบการพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนแก่ระดับรองสารวัตร ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษาอีกด้วย  เป็นการกระตุ้นให้ นรต. ได้เห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษอีกทางหนึ่ง การเพิ่มทักษะทางภาษาให้กับ นรต. นั้น ยังได้มีการจัด English camp ร่วมกันกับนิสิต และ บุคลากรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในโครงการค่ายภาษาอังกฤษ (CULI – RPCA English Camp) เพื่อให้ นรต. ได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะอย่างเข้มข้นต่อเนื่อง ให้ความรู้ความเข้าใจด้านความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยและต่างชาติ เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นและการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งเป็นประโยชน์กับ นรต. เป็นอย่างมาก การจัด English camp ระหว่างเดือนเมษายนนั้นได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ นรต. ได้มีการฝึกทักษะทางภาษาและเป็นการสร้างเครือข่ายกับมหาวิทยาลัยภายนอก ในระหว่างเดือน ตุลาคม รร.นรต.จึงมีโครงการเปิดบ้านโรงเรียนนายร้อยตำรวจ หรือ RPCA Open House โดยมีนักศึกษานานาชาติจากมหาวิทยาลัยศรีปทุม เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าการจัดเตรียมความพร้อมให้กับ นรต. ก่อนที่จะเรียนจบนั้น ต้องประกอบขึ้นด้วยองค์ประกอบหลายๆอย่างด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระเบียบ วินัย ความรู้เกี่ยวกับสายงาน ความสามารถทางภาษา และ การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคม รวมถึงการสร้างเครือข่ายกับเพื่อนในวัยเดียวกันซึ่งอาจจะได้ติดต่อกันต่อไปในอนาคต
 
๑.๕ - ๓ - ๐๑
 
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๓ – ๐๒
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๓ – ๐๓
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๓ – ๐๔
 
๑.๕ - ๓ – ๐๕
 
 
๑.๕ - ๓ – ๐๖
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๓ – ๐๗
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๓ – ๐๘
 
 
 
๑.๕ - ๓ – ๐๙
 
 
 
๑.๕ - ๓ –๑๐
ข้อที่ ๔ ประเมินคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการในข้อ๑-๓ทุกข้อไม่ต่ำกว่า๓.๕๑จากคะแนนเต็ม๕
    รร.นรต. มีการประเมินการส่งเสริมและพัฒนา นรต. ในด้านของการควบคุม การดูแล การให้คำปรึกษาวิชาการและแนะแนวแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจได้คะแนน ๓.๘๗  ด้านการพัฒนาศักยภาพ นรต. และ การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ได้คะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย ๓.๗๓ ตารางที่ ๑๕ หน้า ๑๐ ระบุคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของ นรต. ต่อการบริการนักศึกษาได้ที่ ๔.๖๑ อยู่ในเกณฑ์ดีมาก โดยที่มีการให้ข้อมูลด้านหน่วยงานที่ให้บริการ นรต. ด้านกิจกรรมพิเศษนอกหลักสูตร กับ กิจกรรมเตรียมความพร้อมเพื่อการทำงานเมื่อสำเร็จการศึกษา สองด้านนี้ได้คะแนน ๔.๖๓ แสดงให้เห็นความพึงพอใจของ นรต.ที่มีต่อคุณภาพของการจัดกิจกรรมและการจัดบริการได้เป็นอย่างดี
    กิจกรรมหลักของตัวบ่งชี้นี้คือการบริการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา ดังนั้นทุกคณะจึงได้จัดให้มีการประเมินอาจารย์ที่ปรึกษาและสรุปผลการประเมินส่งให้กับ รร.นรต. ทราบอยู่เป็นประจำทุกภาคการเรียน มีข้อเสนอแนะให้แนะแนวทางการศึกษาต่อ, จัดกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ, เรื่องการแนะแนวเพิ่มเติม และ เรื่องของการตอบปัญหาที่เกิดจากการอ่านบอร์ด ซึ่งคณะก็ได้นำมาปรับปรุงอย่างมีหลักฐานเห็นได้ชัด
นอกจากการประเมินเชิงปริมาณแล้ว การจัดทำโครงการแต่ละโครงการก็ยังมีการประเมินเชิงคุณภาพอีกด้วย ตัวอย่างเช่น โครงการค่ายภาษาอังกฤษ CULI-RPCA English Camp ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีมากจาก นรต. มีการเรียกร้องให้จัดกิจกรรมเสริมทักษะแบบนี้ให้มากยิ่งขึ้น ทำให้ นรต. ได้มีเพื่อนจากมหาวิทยาลัยอื่นอันจะมีผลดีต่อการทำงานในอนาคต
    การประเมินผลโครงการต่างๆนั้น นอกจากด้านระเบียบวินัย การให้คำปรึกษาแล้ว ก็ยังจะรวมถึงการบริการด้านระบบสารสนเทศแก่นักเรียน เพราะ website ของโรงเรียนนั้นมีหน่วยงานหลักในการดูแลคือสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ ซึ่งหน่วยงานนี้ก็มีความใส่ใจในการจัดทำสำรวจความพึงพอใจในการจัดองค์ความรู้ของทาง สทว.ที่จัดให้แก่ นรต. เสมอมา มีการเสนอให้เพิ่มช่องทางการติดต่อทั้งทาง facebook และ line รวมทั้งการ update ภาพกิจกรรมต่างๆของ รร. นรต.อีกด้วย
 
 
๑.๕ - ๔ - ๐๑
๑.๕ - ๔ – ๐๒
๑.๕ - ๔ – ๐๓
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๔ – ๐๔
๑.๕ - ๔ – ๐๕
 
 
๑.๕ - ๔ – ๐๖
 
 
๑.๕ - ๔ – ๐๗
 
 
๑.๕ - ๔ – ๐๘
 
 
๑.๕ - ๔ – ๐๙
 
๑.๕ - ๔ – ๑๐
ข้อที่ ๕ นำผลการประเมินจากข้อ๔มาปรับปรุงพัฒนาการให้บริการและการให้ข้อมูลเพื่อส่งให้ผลการประเมินสูงขึ้นหรือเป็นไปตามความคาดหวังของนักศึกษา
    การนำผลการประเมิน และ ข้อเสนอแนะจากการประเมินมาพัฒนานนั้นในบางกรณีไม่สามารถทำได้เนื่องจากติดขัดด้วยเรื่องของเวลาและระเบียบราชการ เช่น ต้องการให้ขยายชม ในการให้คำปรึกษา หรือ การให้กองร้อยมีอินเตอร์เนตใช้ รร.นรต.ได้แสดงความพยายามในการแก้ปัญหา พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการและการให้ข้อมูลให้เป็นไปตามความคาดหวังส่วนใหญ่ของ นรต. ดังนี้
เรื่องการพัฒนาศักยภาพทางภาษาอังกฤษ จากการที่มีโครงการ English camp กับนิสิตจุฬาฯ และ โครงการ RPCA Open house ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องกันนั้น นรต. ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมภาษาอังกฤษเป็นระยะๆ เพื่อที่จะได้พัฒนาตนเอง ผบช. เห็นควรอนุมัติการดำเนินการ โดยจัดให้มี English night party ขึ้น โดยมีการจัดกิจกรรมสื่อสารภาษาผ่านชมรมต่างๆ และ อาจารย์ภาษาอังกฤษชาวต่างชาติให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
เรื่องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับทุนการศึกษาต่อแต่ละคณะมีข้อแนะนำเกี่ยวกับการศึกษาต่อต่างประเทศ อยู่เสมอๆ โดย รร.นรต. มีการแจ้งความจำนงต้องการขอรับทุนรัฐบาลและประกาศแจ้งให้นักเรียนทราบผ่านทางหน้า website ของโรงเรียนอยู่เป็นประจำ
เรื่องการพัฒนาระบบห้องสมุด ได้มีการเสนอโครงการพัฒนาระบบการให้บริการห้องสมุด รร.นรต. วงเงิน ๓,๒๑๓,๒๑๐ บาท  โดยเป็นการใช้เงินของ ตร. มาพัฒนาระบบต่างๆของห้องสมุดให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น
เรื่องการใช้ facebook และ line ของแต่ละคณะ มีการแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการใช้ระบบสื่อสารที่มีอยู่แล้ว มาใช้คู่กันกับการเรียนการสอน ทำให้เกิดความสะดวกแก่ผู้เรียนและตัวอาจารย์ผู้สอน ตัวอย่างเช่นคณะนิติวิทยาศาสตร์ มีการรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาโท และมีผู้ให้ความสนใจ ทั้งในเรื่องของเนื้อหาการเรียนการสอนและเรื่องของทุนที่ทางคณะมี อีกกรณีหนึ่งคือการให้คำปรึกษาทางกฎหมายผ่าน line กับ ศิษย์เก่าที่กำลังเริ่มทำงานเป็นพนักงานสอบสวนแต่อาจจะมีปัญหาในข้อกฎหมาย อาจารย์ก็สามารถช่วยให้ความกระจ่างกับนักเรียนได้รวดเร็ว
 
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๕ - ๐๑
 
 
 
 
 
 
๑.๕ - ๕ - ๐๒
 
๑.๕ - ๕ - ๐๓
 
 
๑.๕ - ๕ - ๐๔
๑.๕ - ๕ - ๐๕
 
 
 
๑.๕ - ๕ - ๐๖
 
ข้อที่ ๖ ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์เก่า
รร.นรต. ได้มีการให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์กับศิษย์เก่าโดยผ่านทาง website ของ รร.นรต. ให้ข้อมูลและความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ศิษย์เก่า เช่น ฐานข้อมูลทำเนียบรุ่นนักเรียนนายร้อยตำรวจ, ฐานข้อมูลพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่ ว่าที่ ร.ต.ต., ฐานข้อมูลวีดีโอคลิป (RPCA Tube), ฐานข้อมูลหมายจับ CCOC เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจและน่าจะเป็นประโยชน์กับศิษย์เก่าเป็นอย่างมากคือการ update ข้อมูลสมุดโทรศัพท์ ตร. ไว้ที่หน้าเว็บ ซึ่งถ้าทุกหน่วยมีความสามารถในการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเตอร์เนต ก็จะเป็นการประหยัดงบประมาณในการจัดทำสมุดได้เป็นอย่างดี
    นอกจากการให้ข้อมูลทาง website แล้ว รร.นรต. ได้มีความพยายามที่จะผลักดันให้วารสาร รร.นรต. เป็นที่ยอมรับและอยู่ในข้อมูลดัชนีวารสารไทย TCI เพื่อที่จะเป็นช่องทางให้ทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันหรือ คณาจารย์สามารถตีพิมพ์บทความลงในวารสารที่เป็นที่ยอมรับได้ เป็นการสนับสนุนการเผยแพร่งานทางวิชาการแก่ทุกฝ่าย และยังมีการเชิญชวนให้ศิษย์เก่า และศิษย์ปัจจุบันรวมถึงผู้ที่สนใจส่งบทความเข้ามาร่วมตีพิมพ์ได้
การติดต่อสื่อสาร online นอกจากจะอยู่ในรูปแบบของ website ก็ยังมีการให้ข้อมูลผ่านทาง line ดังที่จะเห็นได้จากตัวอย่างที่ศิษย์เก่าที่เป็นพนักงานสอบสวนได้เขียนมาสอบถามข้อคดีกับอาจารย์เสมอ คณะสังคมศาสตร์ ได้มีการเพิ่มช่องทางการสื่อสารด้วยการเปิด facebook ของคณะสังคมศาสตร์ขึ้นเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว และ ยังมีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการผ่านหน้า website ของคณะอีกด้วย
    ในบางกรณี การติดต่อสื่อสาร ไม่ว่าจะทาง website ทางการจัดบอร์ด หรือทาง line ก็อาจจะไม่เพียงพอต่อการตอบคำถามของลูกศิษย์ ในภาพเป็นการให้คำแนะนำด้านการศึกษาต่อปริญญาเอก โดยที่ศิษย์เก่าได้เดินทางเข้ามาหาที่ รร.นรต.ด้วยตัวเอง
 
๑.๕ - ๖ - ๐๑
 
 
 
๑.๕ - ๖ – ๐๒
๑.๕ - ๖ - ๐๓
 
 
๑.๕ - ๖ – ๐๔
 
 
 
 
๑.๕ - ๖ - ๐๕
 
๑.๕ - ๖ – ๐๖
 
 
๑.๕ - ๖ - ๐๗
๑.๕ - ๖ – ๐๘
๑.๕ - ๖ - ๐๙
 
 
ผลการประเมินตนเอง
ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน
ประกอบตัวบ่งชี้
เป้าหมาย
 
ผลการ
ดำเนินงาน
คะแนนที่ได้ การบรรลุเป้าหมาย
การบริการนักศึกษาระดับปริญญาตรี ๕  ข้อ  ๖  ข้อ ๕  คะแนน þ สูงกว่าเป้าหมาย
o เป็นไปตามเป้าหมาย
o ต่ำกว่าเป้าหมาย


รายการหลักฐาน คลิกที่นี่