เข้าชม : 716 |

ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
 
        โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ปี พ.ศ. 2444  ณ มณฑลนครราชสีมา เรียกว่า  “โรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร” ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโยกย้ายสถานที่ตั้ง  ตามความเหมาะสมของนโยบายและสภาพการณ์ตามลำดับ  ดังต่อไปนี้
ยุคโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร  จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2444 – 2447       มีการจัดตั้งกองตำรวจภูธรขึ้นหลายแห่ง ทำให้มีนายตำรวจไม่เพียงพอ    จึงได้จัดตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้นด้วยการกราบบังคมทูลของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในเวลานั้น  ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งโดยใช้กองตำรวจภูธรมณฑลนครราชสีมาเป็นที่ตั้งชั่วคราว
  
        ยุคโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร ห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม  (พ.ศ.2447 – 2458) สถานที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรที่จังหวัดนครราชสีมาอยู่ห่างไกล  การคมนาคมไม่สะดวก  สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยเห็นว่าที่ตำบลห้วยจรเข้   อำเภอเมือง  จังหวัดนครปฐม    มีความเหมาะสม  จึงกราบบังคมทูลขอรับพระราชทานที่ดิน    ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ พระราชทานที่ดินให้ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธรขึ้น  ณ ที่ดังกล่าว
 
        ยุคโรงเรียนนายหมวด  คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร   (พ.ศ.2458 – 2464)   ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พลโทพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ  อธิบดีกรมตำรวจ เป็นผู้ดำเนินการย้ายโรงเรียนนายร้อยตำรวจภูธร จากตำบลห้วยจรเข้ ไปรวมกับโรงเรียนนายหมวดที่คลองไผ่สิงโต กรุงเทพมหานคร และเรียกชื่อว่า  “โรงเรียนนายร้อยตำรวจ”
 

        ยุคโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ตำบลห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม (พ.ศ.2464 – 2476) ในปี พ.ศ. 2464 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้ย้ายกลับไปตั้งที่ตำบลห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐมอีกครั้ง เนื่องจากจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น และโรงเรียนนายหมวดมีพื้นที่คับแคบ
ยุคโรงเรียนนายร้อยทหารบก (ยศ.)  (พ.ศ.2476 – 2489)   โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจรเข้ได้ย้ายไปรวมกับโรงเรียนทหารบกที่ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร และศึกษารวมกับนักเรียนนายร้อยทหารบก
 
 
        ยุคโรงเรียนนายร้อยตำรวจปทุมวัน (พ.ศ.2489 – 2498) หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้โอนการผลิตนักเรียนนายร้อยตำรวจกลับคืนให้กรมตำรวจ  โดยใช้บริเวณกองการศึกษา โรงเรียนนายร้อยตำรวจปทุมวัน เป็นสถานที่ตั้งและเป็นที่ศึกษา
ยุคโรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (พ.ศ.2499 – ปัจจุบัน) ในปี พ.ศ. 2495  สมัยพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตำรวจ ได้พิจารณาย้ายสถานที่ตั้งโรงเรียนนายร้อยตำรวจ มาอยู่ ณ ตำบลสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม   บนเนื้อที่ 580 ไร่  ริมแม่น้ำนครชัยศรี และในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
 
คณะผู้บริหารโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
 

พล.ต.ท.สมชาย  พัชรอินโต
ผู้ลัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
พล.ต.ต. อภิชัย  ศรีโสภิต
รองผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
พลตำรวจตรี ฉลองเกียรติ โรจน์ปัญญาคุปต์
รองผู้บัญชาการ สำนักงานกฎหมายและคดี
ปฏิบัติราชการที่ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
 
พล.ต.ต.ณรงค์ ทรัพย์เย็น
ผู้บังคับการปกครอง
พล.ต.ต.สิทธิ์พันธ์  พวงพิกุล
ผู้บังคับการศูนย์บริการทางการศึกษา
 
พล.ต.ต.วรายุทธ  สุขวัฒน์
ผู้บังคับการศูนย์ฝึกตำรวจ
พล.ต.ต.สำเริง  สวนทอง
ผู้บังคับการอำนวยการ
 
 
โครงสร้างการบริหารงาน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
        โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  เป็นส่วนราชการที่ให้การศึกษาเฉพาะทางด้านตำรวจ สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  แบ่งหน้าที่ภารกิจออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายปกครองและการฝึก ฝ่ายวิชาการ  และมีหน่วยงานขึ้นตรงต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอีกจำนวนหนึ่ง   ดังนี้
        1. ฝ่ายบริหาร รับผิดชอบด้านการบริหารงานทั่วไปของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้แก่ การสรรหาและคัดเลือก  การบริหารงานบุคคล การคลัง แผนและงบประมาณ นิติการ ยานพาหนะ อาคารและสถานที่  พิพิธภัณฑ์ โภชนาการ และการแพทย์ ได้แก่
                1.1 กองบังคับการอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1.1.1 ดำเนินการบริหารด้านกำลังพล งบประมาณการเงิน และวัสดุอุปกรณ์ด้วยระบบฐานข้อมูลที่มีความแม่นยำฉับไว และพัฒนากระบวนงาน เพื่อรองรับความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคปัจจุบัน
1.1.2  ดำเนินการด้านการจัดทำแผนพัฒนา แผนปฏิบัติราชการ และแนวทางการปฏิบัติงาน ต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี
1.1.3  ดำเนินการด้านการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินรายได้ และพัสดุ ให้เป็นไปอย่างประหยัด คุ้มค่า  โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุด
1.1.4  ดำเนินการด้านโภชนาการ การแพทย์พยาบาล อาคารสถานที่ ยานพาหนะ สื่อสาร การรักษาความสงบเรียบร้อย   และพิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
1.1.5  ดำเนินการด้านวินัยด้วยความถูกต้อง เป็นธรรม และพิจารณายกร่าง แก้ไขระเบียบ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1.1.6  ดำเนินการด้านการสรรหาและคัดเลือกให้ได้นักเรียนนายร้อยตำรวจ นักเรียนเตรียม ทหาร ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบุคลากรทางการศึกษาที่มีคุณภาพ
 
        2. ฝ่ายปกครองและการฝึก รับผิดชอบด้านการปกครองบังคับบัญชา ให้คำปรึกษาแนะนำ  สนับสนุนงานกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ  นักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ นักเรียนอบรมหลักสูตรต่างๆ ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  รวมทั้งจัดการฝึกในรูปแบบต่างๆ  เช่น  การฝึกแบบตำรวจ  การฝึกยุทธวิธีตำรวจ  การฝึกพลศึกษาและต่อสู้ป้องกันตัวประกอบด้วยส่วนราชการดังนี้
2.1 กองบังคับการปกครอง มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
2.1.1 ปกครองบังคับบัญชา อบรมบ่มนิสัย และให้คำปรึกษาแนะนำแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ  นักเรียนอบรมและนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นผู้ประพฤติอยู่ในระเบียบวินัยและจริยธรรม
2.1.2 ดำเนินการด้านกิจกรรมนักเรียน  พัฒนาบุคลิกภาพและนันทนาการ  จิตวิทยาและภาวะผู้นำแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ  นักเรียนอบรม  และนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพและภาวะผู้นำที่ดี มีทักษะชีวิต ทักษะสังคม และทักษะวิชาชีพตำรวจ
2.1.3 ส่งเสริม สนับสนุนนักเรียนนายร้อยตำรวจ นักเรียนอบรม และนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการฝึกอบรมตามหลักสูตรปกติ และหลักสูตรพิเศษอื่นๆ
2.2 ศูนย์ฝึกตำรวจ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
2.2.1  ให้การศึกษา ฝึกอบรมนักเรียนนายร้อยตำรวจ  ข้าราชการตำรวจ  และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นภายในประเทศ
2.2.2  ดำเนินการเกี่ยวกับงานการฝึกแบบตำรวจ  ฝึกหลักสูตรพิเศษ  การฝึกหัดปฏิบัติราชการ
2.2.3  ดำเนินการให้การศึกษา  ฝึกอบรมเกี่ยวกับยุทธวิธีตำรวจ  และการฝึกยิงปืน
2.2.4  ดำเนินการพัฒนาวิชากีฬา  ให้การศึกษา  ฝึกอบรม  วิชาพลศึกษา และวิทยาศาสตร์การกีฬา การต่อสู้ป้องกันตัว
2.2.5  พัฒนาองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
 
        3. ฝ่ายวิชาการ  รับผิดชอบด้านการให้ความรู้ทางวิชาการต่างๆ เช่น  การเรียนการสอน  การวิจัย  การฝึกอบรม  และการให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ประกอบด้วยส่วนราชการดังนี้
3.1 คณะตำรวจศาสตร์ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
3.1.1  จัดการเรียนการสอนด้านวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นระบบ  มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
3.1.2  ร่วมมือและให้บริการทางวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมายแก่หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ องค์กรภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป
3.1.3   ส่งเสริมและสร้างงานวิจัย รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมาย  เพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
3.2 คณะนิติวิทยาศาสตร์ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
3.2.1 ผลิตบุคลากรในสาขาวิชาชีพนิติวิทยาศาสตร์  เพื่อรองรับความต้องการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ  และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
3.2.2 เป็นแหล่งรวมและพัฒนาองค์ความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ  ในด้านวิชาการและการวิจัย  ในสาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์
3.2.3 ให้บริการทางวิชาการทางด้านนิติวิทยาศาสตร์แก่สังคม
3.3 คณะสังคมศาสตร์ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
3.3.1 การผลิตและฝึกอบรมข้าราชการตำรวจและบัณฑิต
3.3.2 การส่งเสริมการวิจัย  และผลงานทางวิชาการ
3.3.3 การให้บริการทางวิชาการ  และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3.4 ศูนย์บริการทางการศึกษา มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
3.4.1 ดำเนินการร่วมกับคณาจารย์หรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาหลักสูตร
วิธีการเรียน การสอน วิเคราะห์ประเมินผลการศึกษา
3.4.2 พัฒนา ผลิต และรวบรวมสื่อการเรียนการสอน โดยใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา
3.4.3 ผลิตเอกสารและตำราให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ ครู อาจารย์ และผู้เข้าอบรม
3.4.4 ให้บริการเกี่ยวกับการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ ครู  อาจารย์และผู้เข้าอบรม
3.4.5 จัดทำทะเบียนการศึกษา วิเคราะห์ ประเมินผลการศึกษานักเรียนนายร้อยตำรวจ
และนักเรียนอบรม
3.4.6 สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย ด้วยการจัดหาและให้บริการทรัพยากรสารสนเทศด้านวิชาชีพตำรวจและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบต่างๆ แก่อาจารย์ นักเรียนนายร้อยตำรวจ ข้าราชการตำรวจ ผู้เข้าอบรม และประชาชนทั่วไป
3.4.7 ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาด้านความร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและนอกประเทศ
3.4.8 พัฒนาองค์กรให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
 
        4. หน่วยงานขึ้นตรงต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  รับผิดชอบในงานเชิงรุกเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด  ประกอบด้วยส่วนราชการดังนี้
4.1 สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ และวิทยบริการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
4.1.1 พัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.1.2 บริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพเพื่อการบริหารและการเรียนการสอน
4.1.3 ส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน
4.1.4 การรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีมาตรฐานและความปลอดภัยมากที่สุด
4.2 สำนักประกันคุณภาพการศึกษา  มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
4.2.1 รับผิดชอบเกี่ยวกับงานมาตรฐานการศึกษา  งานพัฒนาระบบกลไกการประเมินคุณภาพการศึกษา
4.2.2 งานฝึกอบรมและงานวิชาการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
4.2.3 งานตรวจสอบและประเมินคุณภาพการศึกษา  ทั้งการประเมินคุณภาพภายในและรองรับการตรวจประเมินคุณภาพภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา 
4.3 สำนักเลขานุการ มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                         งานธุรการ  งานกิจการพิเศษ  งานเลขานุการ งานประชาสัมพันธ์ และงานศิษย์เก่าสัมพันธ์ 
4.4 สำนักสภาการศึกษาและส่งเสริมกิจการ  มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
                       สำนักสภาการศึกษาและส่งเสริมกิจการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ต้องดำเนินการปรับแนวทางโดยการให้บริการกรรมการสภาการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ และข้าราชการตำรวจโรงเรียนนายร้อยตำรวจในเชิงรุก  โดยมุ่งพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสาร และระบบบริการเอกสารพร้อมทั้งเร่งฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ทุกคนให้มีความรู้ในการให้บริการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
 
 งบประมาณประจำปี  โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 
(1 ตุลาคม 2560 – 30 กันยายน 2561) เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 629,119,447.36 บาท (หกร้อยยี่สิบเก้าล้านหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันสี่ร้อยสี่สิบเจ็ดบาท สามสิบหกสตางค์)  โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
ตารางที่ 1  งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
ประเภท จำนวนเงิน (บาท)
งบบุคลากร 361,270,647.36
งบดำเนินงาน 112,985,100
งบลงทุน 122,327,300
งบเงินอุดหนุนทั่วไป 10,308,600
งบกลาง -
งบรายจ่ายอื่น
    1. โครงการจัดหายุทธโธปกรณ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
   2. โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและความมั่นคง
   3. โครงการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ
22,227,800
(17,089,100)
 
 
(1,400,000)
(3,738,700)
รวม 629,119,447.36
ที่มา  ฝ่ายแผนและงบประมาณ กองบังคับการอำนวยการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ / แผนการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561

หลักสูตรการศึกษา
        ในปีการศึกษา 2561 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  เปิดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา จำนวน
4 หลักสูตร  โดยหลักสูตรหลักได้แก่หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ   (Bachelor Public Administration Program in Police Science)   หลักสูตรปรับปรุง  พ.ศ.2561   นักเรียนนายร้อยตำรวจที่สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญา รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (การตำรวจ)(Bachelor of Public Administration (Police Science))  ใช้อักษรย่อว่า “รป.บ.(การตำรวจ) (B.P.A.(Police Science))” และได้เปิดเพิ่มหลักสูตรปริญญาโทอีก 3 หลักสูตร ได้แก่  หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย)   หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์)  และ หลักสูตร   ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอาชญาวิทยาและการบังคับใช้กฎหมาย)
 
จำนวนนักศึกษา
            ปีการศึกษา 2561 จัดให้มีการเรียนการสอน 4 หลักสูตร มีนักศึกษารวม 1,453 คน รายละเอียดแยกตามหลักสูตร ดังนี้

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนนักศึกษา
นักศึกษา รวม (คน)
1. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการตำรวจ (หลักสูตรปรับปรุง 2556) 1,116
ชั้นปีที่ 4 (รุ่น 71)   279 คน
ชั้นปีที่ 3 (รุ่น 72)   284 คน
ชั้นปีที่ 2 (รุ่น 73)   269 คน
ชั้นปีที่ 1 (รุ่น 74)   272 คน
 
2. หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์) (หลักสูตรปรับปรุง 2556)
ปี 5 (รุ่น 3)   12 คน
ปี 4 (รุ่น 4)   25 คน
ปี 3 (รุ่น 5)   33 คน
ปี 2 (รุ่น 6)   35 คน
ปี 1 (รุ่น 7)   36 คน
141
3. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัย)
 (หลักสูตรใหม่ 2558)
ปี 4 (รุ่น 1)   30 คน
ปี 3 (รุ่น 2)   35 คน
ปี 2 (รุ่น 3)   31 คน
ปี 1 (รุ่น 4)   29 คน
125
4. หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาอาชญาวิทยา) (หลักสูตรใหม่ 2559)
ปี 3 (รุ่น 1)   31 คน
ปี 2 (รุ่น 2)   25 คน
ปี 1 (รุ่น 3)   15 คน
71
รวม 1,453
 

จำนวนอาจารย์ประจำ  ปีการศึกษา 2561 (1 เม.ย.2561 – 31 มี.ค.2562)
ตารางที่ 3 แสดงจำนวนคณาจารย์ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
 
หน่วยงาน จำนวนอาจารย์ ลาศึกษาต่อ จำนวนอาจารย์ที่ปฏิบัติราชการจริง
คณะตำรวจศาสตร์ 74 - 74
คณะนิติวิทยาศาสตร์ 16 - 16
คณะสังคมศาสตร์ 23 - 23
รวม 113 - 113
 
วุฒิการศึกษาของอาจารย์ประจำ ปีการศึกษา 2561 (1 เม.ย.2561 – 31 มี.ค.2562)
ตารางที่ 4 แสดงจำนวนวุฒิการศึกษาของคณาจารย์
 
วุฒิการศึกษา หน่วยงาน รวม
 (คน)
คณะตำรวจศาสตร์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
ปริญญาตรี 2 1   3
ปริญญาโท 47 10 13 70
ปริญญาเอก 25 5 10 40
รวม 74 16 23 113
 
  
ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ประจำ  ปีการศึกษา 2561 (1 เม.ย.2561 – 31 มี.ค.2562)
ตารางที่ 5 แสดงตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์
 
ตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงาน รวม
(คน)
คณะตำรวจศาสตร์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์
อาจารย์ 32 11 10 53
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 23 3 7 33
รองศาสตราจารย์ 17 1 6 24
ศาสตราจารย์ 2 1   3
รวม 74 16 23 113
 
 
ข้าราชการตำรวจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561
ตารางที่ 6  จำนวนข้าราชการตำรวจในสังกัดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 (ข้อมูล 1 ต.ค.2561)
 
  ข้าราชการตำรวจ
หน่วยงาน ชั้นสัญญาบัตร ชั้นประทวน
  อนุญาต มีคนจริง ว่าง อนุญาต มีคนจริง ว่าง
โรงเรียนนายร้อยตำรวจ 5 5 0 4 0 4
กองบังคับการอำนวยการ 93 74 19 110 66 44
กองบังคับการปกครอง 86 62 24 31 19 12
ศูนย์ฝึกตำรวจ 64 42 22 43 22 21
ศูนย์บริการทางการศึกษา 56 44 12 37 27 10
คณะตำรวจศาสตร์ 121 88 33 13 5 8
คณะนิติวิทยาศาสตร์ 30 23 7 10 3 7
คณะสังคมศาสตร์ 36 31 5 9 5 4
สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ 34 20 14 25 11 14
สำนักประกันคุณภาพการศึกษา 20 14 6 14 4 10
สำนักเลขานุการ 6 6 - 4 3 1
สำนักสภาการศึกษาและส่งเสริมกิจการ 7 4 3 4 2 1
รวม 558 413 145 304 167 136
ที่มา  ฝ่ายบริหารงานบุคคล  กองบังคับการอำนวยการ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ   
                 * จำนวนข้าราชการของ 3 คณะ รวมจำนวนอาจารย์ประจำคณะ
 

การประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
          การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จึงได้กำหนดให้มี "ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา" เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ  โรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่จะต้องมีการพัฒนาและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของ โรงเรียนนายร้อยตำรวจให้ดียิ่งขึ้น  และพร้อมที่จะได้รับการประเมินและการรับรองจากองค์กรภายนอกจึงได้กำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดังนี้
     1. พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพและรักษามาตรฐานการผลิตบัณฑิตของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
     2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ กองบังคับการ ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา
     3. ให้กองบังคับการจัดตั้งกรรมการการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นผู้กำกับดูแลให้คำปรึกษาของ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ภาควิชาการและหน่วยงานทุกหน่วยงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
     4. ให้โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  กองบังคับการ กองกำกับการ และหน่วยงานทุกหน่วยงานทำรายงานประเมินตนเอง (SAR)    และจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายใน  (Internal Quality Assessment)    ตามวงรอบที่กำหนดไว้พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
     5. สนับสนุนให้กองบัญชาการ กองบังคับการ กองกำกับการภาควิชาและแผนกงาน เผยแพร่กิจกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาที่ได้ดำเนินไปแล้วอย่างมีประสิทธิภาพต่อสาธารณชน   เพื่อการประชาสัมพันธ์ คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ
     6. ให้กองบัญชาการ กองบังคับการ กองกำกับการภาควิชาและแผนกงาน เตรียมความพร้อมเพื่อการรองรับการประเมินคุณภาพจากองค์กรภายนอกตาม วัน เวลา  ที่ได้กำหนด
     7. ให้ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจสอดคล้องกับแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
     8. ให้มีการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้ดียิ่งๆ ขึ้น   เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหลักในการเสริมสร้างการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และ พัฒนาให้ข้าราชการ ให้รักษาวินัยและจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่อย่างผู้มีความใฝ่เรียนรู้ และพัฒนาสถาบันให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
  
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา
          การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกระบวนการของการดำเนินกิจกรรมที่คำนึงถึงคุณภาพของผลผลิตตามพันธกิจของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  กิจกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประกอบด้วย

การควบคุมคุณภาพ  (Quality Control)
     การควบคุมคุณภาพ  หมายถึง    การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ได้จัดระบบและกลไกการควบคุมคุณภาพภายในของแต่ละองค์ประกอบหรือปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาและให้มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบในระดับกองบัญชาการ  กองบังคับการ  กองกำกับการ  กลุ่มวิชาและแผนกงานโดยใช้หลักของการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสม  พร้อมทั้งการมีระบบตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการภายใน
 
การตรวจสอบคุณภาพ (Quality Audit) 
     การตรวจสอบคุณภาพ หมายถึง  การตรวจสอบผลการดำเนินงานของระบบและกลไกควบคุมคุณภาพภายในของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ที่ได้จัดให้มีขึ้น  และนำผลการตรวจสอบมาดำเนินงานของระบบและกลไก     มาปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ    โดยให้มีการตรวจสอบคุณภาพในระดับกองบัญชาการ  กองกำกับการ  กลุ่มวิชาและแผนกงาน
 
การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment)
     การประเมินคุณภาพ หมายถึง  กระบวนการประเมินผลการดำเนินงานของกองบัญชาการ  กองบังคับการ กองกำกับการ  กลุ่มวิชาและแผนกงาน  โดยมุ่งไปที่คุณภาพของผลผลิต ได้แก่  คุณภาพบัณฑิต  คุณภาพงานวิจัย  คุณภาพงานบริการวิชาการแก่สังคม  และคุณภาพงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม    การใช้ระบบการประกันคุณภาพหรือระบบควบคุมคุณภาพเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพได้
  
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2560
     โรงเรียนนายร้อยตำรวจ   เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางของรัฐ มีการดำเนินการตามพันธกิจหลัก ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย    การบริหารทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  โดยมีการผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ   และมีคุณลักษณะตามที่หลักสูตรที่กำหนด รวมทั้งยังใช้หลักการของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ    ดังปรากฏตามผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสถาบัน 6 องค์ประกอบ 16 ตัวบ่งชี้ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.80  ทั้ง 6 องค์ประกอบมีผลการดำเนินการตามคะแนนดังนี้
 
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต คะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.55 คะแนน
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย คะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 คะแนน
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ คะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 คะแนน
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม คะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 คะแนน
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ คะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 4.87 คะแนน
องค์ประกอบที่ 6 อัตลักษณ์ของสถาบัน คะแนนการประเมินเฉลี่ยเท่ากับ 5.00 คะแนน
 
 สรุปจุดเด่นในภาพรวมระดับสถาบัน
     1.  ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของประเทศในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โดยจัดทำโครงการ Smart Academy 4.0  และพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร 2 ปริญญา (Dual Degree) ที่มีความทันสมัยและตอบสนองสภาวการณ์ในปัจจุบัน
     2.  โรงเรียนเป็นสถาบันผลิตเฉพาะทางได้รับความไว้วางใจจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกประเทศในการส่งบุคลากรเข้ารับการฝึกวิชาชีพตำรวจ
     3.  มีการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างๆ รวมถึงมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งภายในและภายนอกประเทศ และมีโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนทั้งอาจารย์  บุคลากรและนักเรียนนายร้อยตำรวจให้มีคุณภาพระดับสากล 
     4.  มีศูนย์เรียนรู้  ศูนย์ข้อมูล ศูนย์ฝึกทางวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมายที่ทันสมัย ในการผลิตนักเรียนนายร้อยตำรวจ  นักเรียนอบรมให้เป็นตำรวจมืออาชีพ รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกยุทธวิธีให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย
     5.  มีระบบการประกันคุณภาพ ที่สามารถดำเนินการให้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานตามปกติในแต่ละหน่วยงาน ผู้บริหารและบุคลากรในหน่วยงานประกันคุณภาพทำงานเป็นทีมที่เข้มแข็ง
 
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
     1.  ควรมีการให้ความรู้ในการจัดทำแผนทุกแผน ทุกเรื่อง และ กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนและกิจกรรมที่ถูกต้อง และครบถ้วนให้กับทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีแผนงานที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างชัดเจน ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ และควรวางแนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนให้สมบูรณ์
     2.  โรงเรียนมีระบบการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ดี แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโทอีก 3 หลักสูตร ทำให้การดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ไม่เป็นแบบแผนเดียวกัน ดังนั้น จึงควรกำหนดระบบการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของโรงเรียน เพื่อการดำเนินการที่เป็นระบบครบถ้วน ตั้งแต่การควบคุม การตรวจสอบ และการประเมินคุณภาพของหลักสูตร
     3.  ควรจัดทำศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาชีพตำรวจที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ  ศิษย์เก่า และข้าราชการตำรวจอื่นๆ 
     4.  ควรจัดสร้างห้องเรียนมาตรฐานที่เอื้อต่อการเรียนการสอนแบบเชิงรุก  (Active Learning) 
     5.  ควรส่งเสริมการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรให้มีสมรรถนะ ทั้งฝ่ายวิชาการและฝ่ายสนับสนุน  เพื่อพัฒนาศักยภาพของกำลังพล รองรับนโยบายการผลักดันให้โรงเรียนเป็น Police Training Hub of ASEAN 
 
การดำเนินการหลังการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา  ปีการศึกษา 2560
ข้อเสนอแนะในภาพรวม
ระดับสถาบัน
การดำเนินการของ รร.นรต.
   1. ควรมีการให้ความรู้ในการจัดทำแผนทุกแผน ทุกเรื่อง และ กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนและกิจกรรมที่ถูกต้อง และครบถ้วนให้กับทุกหน่วยงาน เพื่อให้มีแผนงานที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างชัดเจน ตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ และควรวางแนวทางการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนให้สมบูรณ์    1. ระดับสถาบัน  มีการจัดอบรมเรื่องการจัดทำแผนทุกแผนตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษา เมื่อวันที่
2 – 3 ต.ค.2561 ณ อาคารประสารราชกิจ รร.นรต. 
   2. มีการจัดประชุมสัมมนาและอภิปรายวิพากษ์ร่างแผนพัฒนารร.นรต. พ.ศ.2560 ถึง 2564 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2562)ในวันที่ 14 พ.ย. 2561 และวันที่ 23 พ.ย. 2561
   3. ระดับหน่วยงาน กองบังคับการปกครอง ได้มีการให้ความรู้ในการจัดทำแผน และการกำหนดตัวชี้วัด ความสำเร็จของแผนและกิจกรรม “โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการทำงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา กองบังคับการปกครอง” ให้แก่ข้าราชการตำรวจ
   2. โรงเรียนมีระบบการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ดี แต่ยังไม่ครอบคุลมถึงการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโทอีก 3 หลักสูตร ทำให้การดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ  ไม่เป็นแบบแผนเดียวกัน ดังนั้น จึงควรกำหนดระบบการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของโรงเรียน เพื่อการดำเนินการที่เป็นระบบครบถ้วน ตั้งแต่การควบคุม การตรวจสอบ และการประเมินคุณภาพของหลักสูตร    ศูนย์บริการทางการศึกษา ได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานกำหนดมาตรฐานระบบการกำกับดูแลคุณภาพการผลิตบัณฑิต ระดับอุดมศึกษารร.นรต. ตามคำสั่ง รร.นรต.ที่ 524/2561 ลง 27 พ.ย.2561
   3. ควรจัดทำศูนย์รวบรวมองค์ความรู้ทางวิชาชีพตำรวจที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจ  ศิษย์เก่า และข้าราชการตำรวจอื่นๆ 1. โรงเรียนนายร้อยตำรวจมีโครงการมุ่งเน้นที่จะสร้างองค์ความรู้ให้กับนักเรียนนายร้อยตำรวจโดยมีการเสนอโครงการต่างๆดังนี้
   - โครงการศูนย์นวัตกรรมทางวิชาชีพตำรวจและการบังคับใช้กฎหมาย งบประมาณ 45,068,000 บาท
   - โครงการคลังสมองระบบดิจิตัลทางวิชาชีพตำรวจ งบประมาณ 3,887,900 บาท
   2. คณะนิติวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาห้องปฏิบัติการจำนวน 3 ห้อง ได้แก่ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำ, ห้องจำลองสำหรับการฝึกสถานที่เกิดเหตุและห้องปฏิบัติการสำหรับวิชาเทคนิคในห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ให้ได้มาตรฐานและเกิดประโยชน์สูงสุด และในปีการศึกษา 2561 มีการจัดสรรงบประมาณจัดตั้งศูนย์ตรวจวัตถุพยานทางดิจิตัล โดยปรับปรุงห้องและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับการตรวจตามมาตรฐานสากลทางด้านนิติคอมพิวเตอร์
   4. ควรจัดสร้างห้องเรียนมาตรฐานที่เอื้อต่อการเรียนการสอนแบบเชิงรุก  (Active Learning)    จัดทำโครงการจัดตั้งห้องเรียนอัจฉริยะสำหรับการเรียนการสอนและการฝึกอบรม  (Smart Classroom) ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ
   5. ควรส่งเสริมการพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรให้มีสมรรถนะ ทั้งฝ่ายวิชาการและฝ่ายสนับสนุน  เพื่อพัฒนาศักยภาพของกำลังพล รองรับนโยบายการผลักดันให้โรงเรียนเป็น Police Training Hub of ASEAN    1. จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของสถาบัน และให้หน่วยย่อยจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยรองรับ โดยในส่วนของคณะ ได้กำหนด KPI เกี่ยวกับการพัฒนาคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ
   2. จัดทำโครงการอบรมพัฒนาต่างๆ  เพื่อพัฒนาคณาจารย์  ครูฝึก และบุคลากรใน โรงเรียนนายร้อยตำรวจ  ให้มีความเข้าใจด้านเทคนิคการสอนแบบต่างๆ เช่น
     -. โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร ระหว่างวันที่ 28 - 29 พ.ย. 2561
     - โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาคณาจารย์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ เรื่อง "STAR STEMS กระบวนการสร้างวินัยและพลเมือง" วันพุธที่ 20 ก.พ.2562
     - โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการความรู้หลักสูตร การเรียนการสอนสำหรับบุคลากรสายสนันสนุนวิชาการ เมื่อวันที่ 17 ม.ค.2562
     - หลักสูตรการพัฒนาผู้ทำหน้าที่นิติกรของ ตร.และ หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับตำแหน่งผู้ทำหน้าที่ตรวจสอบสำนวนอัยการและให้ความเห็นทางกฎหมาย
     - ส่งข้าราชการตำรวจเข้ารับการฝึกอบรม Advanced Tactical Safety And Planning Course : Session 3 ระหว่าง 5 – 16 พ.ย.2561
     - หลักสูตรการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่รักษาสันติภาพ(Individual Police Officer/IPO) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ระหว่างวันที่ 2 – 13 ก.ค. 2561