เข้าชม : 174 |

 

องค์ประกอบที่ 6

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ในการดำเนินการบริหารหลักสูตร จะต้องมีปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย ความพร้อมทางกายภาพ ความพร้อมด้านอุปกรณ์ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ความพร้อม
ด้านการให้บริการ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องทำวิจัย อุปกรณ์การเรียนการสอน ห้องสมุด การบริการ
เทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ Wifi และอื่น ๆตลอดจนสิ่งสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับการจัดการศึกษาแบบ
ประจำ ได้แก่ อาหารและโภชนาการ บริการด้านสุขภาพ อาคารนอน เป็นต้นรวมทั้งการบำรุงรักษาที่ส่งเสริม
สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนด
ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยพิจารณาร่วมกับผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์

 

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ชนิดของตัวบ่งชี้  กระบวนการ

กระบวนการหรือผลการดำเนินงานด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอน และส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

 

เกณฑ์มาตรฐาน

1. มีระบบมีกลไก

2. มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงานและมีการประเมินกระบวนการ

3. มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

4. มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

5. มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยันและกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

 

 

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1

คะแนน 2

คะแนน 3

คะแนน 4

คะแนน 5

มีการดำเนินการ

ข้อที่ 1

มีการดำเนินการ

ข้อที่ 1 – 2

มีการดำเนินการ

ข้อที่ 1 – 3

มีการดำเนินการ

ข้อที่ 1 – 4

มีการดำเนินการ

ข้อที่ 1 – 5

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการดำเนินงาน

เกณฑ์

การดำเนินงานในแต่ละระดับ

หมายเลขเอกสาร

ระดับ 1

(P)

มีระบบและกลไกในการจัดการจำนวนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน

          ตามแผนพัฒนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2560 – 2564 (ฉบับปรับปรุง) มีการกำหนดยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างคนเก่ง : HEAD โดยกลยุทธ์ที่ 3 สร้างและพัฒนาระบบครูอาจารย์

 
ห้องสมุด
 
ห้องโสตทัศนศึกษา
 
 แหล่งเรียนรู้ ห้องเรียน
 
สื่อ
 
อุปกรณ์การศึกษาที่ทันสมัย สำนักเทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยบริการ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library) เพื่อก้าวสู่ RPCA Smart Academyขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพระบบห้องสมุดอัตโนมัติของห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้สามารถรองรับการให้บริการในลักษณะดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

 

          การบริหารจัดการในด้านของห้องสมุดและห้องเรียนคอมพิวเตอร์ มีคณะกรรมการเงินทุนฯ ในการบริหารจัดการทั้งในส่วนของเงินทุนห้องสมุด และเงินทุนห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถนำเงินทุนมาใช้ในการพัฒนาการให้บริการแก่นักเรียนนายร้อยตำรวจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันสมัย

          ห้องสมุด รร.นรต.ดำเนินการตามระเบียบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ว่าด้วยการเข้ารับบริการห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจเพื่อให้การใช้บริการของห้องสมุด รร.นรต. เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ

 

 

6.1 - 1 – 01

 

 

 

6.1 - 1 - 02

 

 

 

6.1 - 1 - 03

 

 

 

6.1 - 1 - 04

 

ระดับ 2

(D+C)

มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน

          ในปีการศึกษา 2562 ห้องสมุด รร.นรต.ได้จัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนโดย ห้องสมุด รร.นรต. ได้ปรับปรุงระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และจัดทำระบบควบคุมการเข้าออกเพื่อปรับปรุงการจัดเก็บสถิติการเข้าใช้บริการ และสถิติการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ ให้สะดวกและชัดเจนยิ่งขึ้นเพื่อพัฒนาการให้บริการห้องสมุดในรูปแบบที่เน้นการบริหารจัดการและการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในลักษณะ Smart Library เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ใช้บริการห้องสมุดสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว  โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ ตามนโยบาย Smart Academy ให้สามารถรองรับการให้บริการอย่างเต็มรูปแบบทั้งเว็บไซต์ และ Mobile Application

 

มีการประเมินกระบวนการ

          ห้องสมุด รร.นรต. มีการดำเนินการสำรวจความพึงพอใจประจำทุกปี สำหรับผลการสำรวจความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้บริการประจำปีการศึกษา 2562 อยู่ในระดับ มาก คิดเป็น 4.35 จาก 5 คะแนน

 

 

 

6.1 - 2 – 01

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.1 - 2 – 02

ระดับ 3

(A)

มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน

          ห้องสมุด รร.นรต. ได้มีการนำผลการประเมินความพึงพอใจมาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานดังนี้

          จัดทำโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนนายร้อยตำรวจได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดได้อย่างคุ้มค่า โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าสถิติการยืมจะเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของปีที่ผ่านมา

          มีการจัดทำคู่มือการใช้งานต่างๆโดยจัดทำในรูปแบบ E-Book เพื่อให้ผู้ใช้ได้ศึกษาจากเว็บไซต์ของระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

          มีการจัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์การสมัครสมาชิกห้องสมุดผ่านเว็บไซต์ การใช้งานระบบสืบค้นฐานข้อมูลสารสนเทศ OPAC เบื้องต้น และการสมัครใช้งานผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น

          จัดส่งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดเข้าร่วมอบรมสัมมนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST Users Group ครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 23 - 24 พ.ค.62 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ จังหวัดปทุมธานี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และรับทราบปญหาจากการใชงานระบบฯ เพื่อให้ผูพัฒนาระบบไดนํามาปรับปรุงระบบฯ ใหตรงตามความตองการของผูใชงานมากยิ่งขึ้น

 

 

 

6.1 - 3 – 01

 

 

 

6.1 - 3 – 02

 

 

6.1 - 3 – 03

 

6.1 - 3 – 04

 

 

 

ระดับ 4

มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม

          นักเรียนนายร้อยตำรวจมีความเข้าใจในการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติและการสแกนเข้าออกที่ถูกต้องมากขึ้น โดยดูจากรายงานสรุปการเข้าใช้ของแต่ละเดือน ซึ่งมีการสแกนเข้าออกผ่านประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติ ในภาคเรียนที่ 1 จำนวน 2,033 ครั้ง ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 17,832 ครั้ง เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วปรากฎว่ามีสถิติเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.60

          มีสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศมากขึ้น เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยในปีการศึกษา 2561 มีสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 1,667 เล่ม  ในปีการศึกษา 2562 มีสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 2,397 เล่ม เมื่อเปรียบเทียบแล้วปรากฎว่ามีสถิติเพิ่มขึ้นร้อยละ 30.45 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายร้อยละ 10 ที่ได้ตั้งไว้

          มีการมอบรางวัลให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจผู้มีสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศสูงสุด 10 อันดับ ตามโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

          การพัฒนาปรับปรุงการใช้ QR Code แทนบัตรสมาชิก มีความถูกต้อง แม่นยำ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้นในการสแกนเข้าออกห้องสมุด สามารถลดปัญหาการลืมบัตรสมาชิกของนักเรียนได้  โดยให้นักเรียนใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนของตนเอง สร้าง QR Code เก็บไว้ในสมาร์ทโฟน เพื่อใช้สแกนแทนบัตรนักเรียน ในการเข้า-ออกห้องสมุด และการยืมหนังสือผ่านเครื่องยืมอัตโนมัติด้วยตนเอง

 

 

6.1 - 4 – 01

 

 

 

 

6.1 - 4 – 02

 

 

 

6.1 - 4 – 03

 

 

 

 

6.1 - 4 – 04

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ผลการประเมินตนเอง

ตัวบ่งชี้/ข้อมูลพื้นฐาน

ประกอบตัวบ่งชี้

เป้าหมาย

 

ผลการ

ดำเนินงาน

คะแนน
ที่ได้

การบรรลุเป้าหมาย

สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

3 ข้อ

4 ข้อ

4 คะแนน

□สูงกว่าเป้าหมาย

□เป็นไปตามเป้าหมาย

□ต่ำกว่าเป้าหมาย

 

 

รายการหลักฐาน

ที่

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

แหล่งหลักฐาน

1

แผนพัฒนาโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2560 – 2564 (ฉบับปรับปรุง)

6.1 – 1 - 01

สทว.รร.นรต.

2

โครงการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (E-library) เพื่อก้าวสู่ RPCA Smart Academy

6.1 – 1 - 02

ฝบ.สทว.

3

ระเบียบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ว่าด้วยเงินทุนห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ศ.2560

6.1 – 1 - 03

ฝบ.สทว.

4

ระเบียบโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ว่าด้วยการเข้ารับบริการห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

6.1 – 1 - 04

ฝบ.สทว.

5

หนังสือประชาสัมพันธ์การใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

6.1 – 2 - 01

ฝบ.สทว.

6

ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดโรงเรียนนายร้อยตำรวจ

6.1 – 2 - 02

ฝบ.สทว.

7

โครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้

6.1 – 3 - 01

ฝบ.สทว.

8

คู่มือการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

6.1 – 3 – 02

ฝบ.สทว.

9

แผ่นพับประชาสัมพันธ์แนะนำการใช้งานระบบ

6.1 – 3 – 03

ฝบ.สทว.

10

โครงการสัมมนาเชิงวิชาการ “ALIST Users Group ครั้งที่ 10”

6.1 – 3 - 04

ฝบ.สทว.

11

สถิติการใช้งานระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

6.1 - 4 – 01

ฝบ.สทว.

12

สถิติการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศ

6.1 - 4 – 02

ฝบ.สทว.

13

ภาพการมอบรางวัลให้แก่นักเรียนนายร้อยตำรวจผู้มีสถิติการยืมทรัพยากรสารสนเทศสูงสุด 10 อันดับ

6.1 - 4 – 03

ฝบ.สทว.

14

หน้าเว็บไซต์สำหรับสร้าง QR Code แทนบัตรสมาชิกห้องสมุด

6.1 - 4 – 04

ฝบ.สทว.